โอกาสในวิกฤติกับการฝึกขับร้องประสานเสียงผู้สูงอายุผ่านสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ณัฐธัญ อินทร์คง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารด้านศิลปะการแสดง คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • พัชรินทร์ ร่มโพธิ์ชื่น หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ

คำสำคัญ:

โอกาสในวิกฤต, ขับร้องประสานเสียง, ผู้สูงอายุ, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เป็นสถานการณ์ที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบทั่วโลก ผู้คนในสังคมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติรุนแรง ผู้คนถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่เฉพาะในบ้านของตนเอง ด้วยเหตุนี้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารหรือเป็นพื้นที่ของการทำกิจกรรมร่วมกัน การฝึกขับร้องประสานเสียงสำหรับผู้สูงอายุคือหนึ่งกิจกรรมร่วมกันที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการดำเนินกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การฝึกขับร้องประสานเสียงร่วมกันผ่านโปรแกรมประชุมทางไกลซูม และ (2) การบันทึกคลิปวิดีโอการขับร้องประสานเสียงด้วยมือถือและส่งทางแอพพลิเคชั่นไลน์ กิจกรรมทั้งสองคือรูปแบบใหม่ที่ถูกออกแบบเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับสภาพการณ์และสามารถดำเนินไปได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์ของกิจกรรมที่เกิดขึ้น คือ การพัฒนาทักษะการขับร้องประสานเสียงของผู้สูงอายุมีความแตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้ การพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ในกลุ่มผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดีของผู้สูงอายุ เหล่านี้คือโอกาสในวิกฤติที่เกิดขึ้นจากการฝึกขับร้องประสานเสียงผู้สูงอายุผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยสถานการณ์โควิด-19 การใช้สื่อสังคมออนไลน์ทำให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุหลายคนเข้าใจและสามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น และกลายเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในการเรียนรู้สิ่งรอบตัวและการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่เพื่อปรับตัวในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต

References

ณัฐธัญ อินทร์คง. (2565). การขับร้องและประสาทวิทยาศาสตร์: ความสัมพันธ์ระหว่างความแม่นยำในการขับร้องกับความจำของผู้สูงอายุ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 7(2), 265 – 272.

ภัทรพงษ์ รื่นเอม และ วิไลภรณ์ จิรวัฒนเศรษฐ์. (2564). สื่อสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 20(2), 139 - 149.

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (2564). การจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในสถานการณ์วิกฤติสุขภาพ. ข้อถกเถียง สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566. https://www.samatcha.org/file/155f7e12-c05b-4adb-b8d2-739eba447894/preview.

สุทธิพงษ์ เรืองจันทร์, ณัฐธัญ อินทร์คง, ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, และพัชรินทร์ ร่มโพธิ์ชื่น. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการขับร้องประสานเสียงและสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(2), 127 – 142.

อารยา ผลธัญญา. (2564). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 272 – 288.

Dr. Musikcoach Channel. (2021). ฝึกซ้อมลมหายใจและออกเสียงกับเปียโน. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. https://www.youtube.com/watch?v=Er5Cl004HuM

Dr. Musikcoach Channel. (2021). ฝึกซ้อมลมหายใจและออกเสียงกับเปียโน. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. https://www.youtube.com/watch?v=Er5Cl004HuM

Dr. Musikcoach Channel. (2021). ฝึกร้องบันไดเสียงโครมาติก Chromatic Scale. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. https://www.youtube.com/watch?v=hWUCRlV4_LI

Dr. Musikcoach Channel. (2021) โควิด-19 มะล่องก่องแก่ง Covered by TSC. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. https://www.youtube.com/watch?v=D6OfNmqljho

Dr. Musikcoach Channel. (2021) สวดไล่โควิด Covered by TSC. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. https://www.youtube.com/watch?v=XQultk7nPQo

Aljazeera. (2023). WHO chief urges China to share information on COVID origins. Accessed January 9, 2023. https://www.aljazeera.com/news/2023/4/7/who-chief-urges-china-to-share-information-on-covid-19-origins#:~:text=The%20virus%20was%20first%20identified,fanning%20out%20around%20the%20world.

Goel, Ashish and Gupta, Latika. (2020). Social Media in the Times of COVID-19. JCR: Journal of Clinical Rheumatology. 26(6), 220-223. Accessed January 19, 2023. doi: 10.1097/RHU.0000000000001508.

González-Padilla, D. A. (2020). Social Media Influence in the COVID-19 Pandemic. Accessed January 11, 2023. https://doi.org/10.1590/S1677-5538.IBJU.2020.S121.

Hamner, L. et al. (2020). High SARS-CoV-2 Attack Rate Following Exposure at a Choir Practice — Skagit County, Washington, March 2020. Morbidity and Mortality Weekly Report, 69(19), 606-610. Accessed January 12, 2023. https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/mm6919e6.htm.

Knaus, H., Peschl, W., Rehorska, W., and Winter, C. (n.d.) “Musik Erziehung Spezial,” 66 (3). Leitring: Druckerei Niegelhell. Accessed June 16, 2020. https://www.agmoe.at/wp-content/uploads/2014/05/AGMOE_MA_ Spezial_2013_3.pdf?fbclid=IwAR1M5o8evNO87BIOs_Mzz01GvX8X6kTfI1XoLRRZhXDsZ8olkEryNXoHAQ (German).

Partnership for 21st Century Skill. P21 Framework Definitions. Accessed May 5, 2020. https://files.eric.ed.gov/full text/ED519462.pdf.

Vanneman, A. (1998). “NAEP and Music: Framework, Field Test, and Assessment,” National Center for Education Statistics (ED), Washington, DC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31