การรับรู้อาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ชามาตร วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ปารีรัตน์ อุ่นชัย วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ชนกพร จักรชุม วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การรับรู้อาหารท้องถิ่น, อาหารท้องถิ่น, จังหวัดนครพนม

บทคัดย่อ

การศึกษาการรับรู้อาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้อาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม จำนวน 400 ชุด พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุอยู่ช่วงระหว่าง 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวจังหวัดนครพนมมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหรือพักฟื้นร่างกาย
ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันไม่เกิน 1,000 บาท และใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในจังหวัดนครพนมเฉลี่ยไม่เกิน 1,000 บาท
โดยนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่รู้จักและเคยรับประทานแกงหน่อไม้ ปลานึ่ง ปิ้งไก่ น้ำพริกแจ่วบอง ส้มผักเสี่ยน อันดับแรกตามการแบ่งประเภทอาหารท้องถิ่น และระดับความคิดเห็นที่มีต่อการรับรู้อาหารท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีรับดับความคิดเห็นมากที่สุดเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นที่มีการตกแต่งอาหารให้มีสีสันจากวัตถุดิบหรือสมุนไพรในท้องถิ่นเป็นการเพิ่มมูลค่าและความน่าสนใจ อาหารท้องถิ่นแสดงออกถึงลักษณะด้านวัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่น และอาหารท้องถิ่นนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบหลัก ตามลำดับ

References

กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านอัตลักษณ์อาหารทั้ง 4 ภูมิภาค.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). Tourism Research. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว, 4(2), 27-47.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ความรู้เกี่ยวกับ อาหารประเภทเครื่องจิ้ม. สืบค้นจาก https://sci.dru.ac.th/ac/images/room1/a.pdf

คมสัน นิลยองตระกูล. (2561). ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2561.

ชนกพร จักรชุม. (2564). รูปแบบการส่งเสริมการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มคุณค่าทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ณนนท์ แดงสังวาล และประสพชัย พสุนนท์. (2563). การท่องเที่ยวเชิงอาหารในสังคมต่างวัฒนธรรม:ประเทศไทยและมาเลเซีย. ปีที่ 5 ฉบับที่2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563).

ปราณี ศรีมงคล. (2561). แนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24(3).

ปราณี ศรีมงคล. (2561). ประธานชุมชนหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าไทญ้อ อำเภอท่าอุเทน. สัมภาษณ์, 28 ตุลาคม 2561.

ปวิธ ตนัสกุล. (2563). แนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1), 81-92. thaijo.org/index.php/wms/article/download/237906/162872/

พัชรี ตั้งตระกูล และคณะ. (2561). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารท้องถิ่นของ จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ:คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2566). ชนิดของอาหารไทย. สืบค้นจาก https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=13&chap=8&page=t13-8-infodetail01.html

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง และคณะ. (2559). การศึกษาอุปสงค์และอุปทานของการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในกลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร-นครพนม-มุกดาหาร).

ศันสนีย์ อุตมอ่าง. (2542). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาขนมอบ. เพชรบูรณ์ : คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. (2566). สืบค้นจาก https://www.foodnetworksolution.com/cookbook

สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย และกรรณิกา สงวนสินธุกุล. (2564). การศึกษาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่ที่มีบริบทต่างกัน:กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม.

สุชัญญา รักบํารุง. (2563). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้าน กับความมั่นคงด้านสุขภาพ ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า บ้านผาหมี อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครพนม. (2561). ข้อมูลจังหวัดนครพนม. สืบค้นจากhttp://www.nakhonphanom.go.th/nakhonphanom/dataprovince.php

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครพนม. (2565). จำนวนท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม 2565. สืบค้นจาก https://nakhonphanom.mots.go.th/graph_views.php?graph_id=65

สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดนครพนม.

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2558). มานครพนม ชม 3 ที่สุด เพื่อสุขที่สุด. นครพนม: สำนักงานจังหวัดนครพนม.

สุปรียา ภูผาลา และจารุวรรณ แดงบุบผา. (2565). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2565.

เสาวภา ศักยพันธ์. (2548). การศึกษาข้ามวัฒนธรรมสิบสองพันนาและล้านนาด้านอาหารไทลื้อ. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มนำโขงและสาละวินวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

อำไพ พฤติวรพงศ์กุล. (2551). อาหารพื้นบ้าน. ตำราวิชาการเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

W.G. Cochran (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30