ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
บทคัดย่อ
ภาวะชักจากไข้เป็นสาเหตุการชักที่พบได้บ่อยในเด็ก ประมาณ 1ใน3 ของเด็กกลุ่มนี้พบว่ามีภาวะชักจากไข้ซ้ำ และในบางการศึกษาพบว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมชักตามมาได้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำ และอุบัติการณ์ของการเกิดโรคลมชักภายหลังการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา วิธีการศึกษาทำการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัย febrile seizure ครั้งแรกในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยใช้ Chi-square test,Fisher’s exact test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษาวิจัยผู้ป่วยมีภาวะชักจากไข้ครั้งแรกจำนวน 355 ราย มีภาวะชักจากไข้ซ้ำจำนวน 106 ราย จากการศึกษาพบว่าประวัติครอบครัวที่มีภาวะชักจากไข้เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 44, P=0.001) เมื่อวิเคราะห์ด้วย multiple logistic regression พบมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำ 2.35 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีประวัติครอบครัวมีภาวะชักจากไข้ (OR=2.35, 95% CI= 1.418-3.905, P=0.001) นอกจากนี้จากการศึกษาพบอุบัติการณ์การเกิดโรคลมชัก (epilepsy) ในเด็กที่มีภาวะชักจากไข้ซ้ำร้อยละ 8.5 ซึ่งมากกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่มีภาวะชักจากไข้ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลประวัติครอบครัวที่มีภาวะชักจากไข้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักจากไข้ซ้ำ และภาวะชักจากไข้ซ้ำมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักตามมาได้
References
Berg AT, PhD, Shlomo Shinnar, M.D., PhD, W. Allen hauser, M.D., Marta Alemany, Eugene D. Shapiro, M.D., Morton E. Salomon, M.D. et al. A Prospective study of recurrent febrile seizures. The New England journal of Medicine 1992 Oct;327(16):1122-1127
C. Waruiru, R. Appleton. Febrile seizures: an update. Arch Dis Child 2004;89:751-756
Sajun Chung, MD. Febrile seizure. Korean J Pediatr 2014;57(9):384-390
Julie Werenberg Dreier, PhD, Jiong Li, PhD, Yuelian Sun, PhD, and Jakob Christensen, MD, DrMedSci. Evaluation of long-term risk of epilepsy, psychiatric disorders, and mortality among children with recurrent febrile seizures. JAMA Pediatric 2019 Dec;173(12):1164-1170
Anne T. Berg, PhD, ShlomoShinnar, MD, PhD, Amy S. Darefsky, MPH, Theodore R. Holford, PhD, Eugene D. Shapiro, MD, Morton E. Salmon, MD, et al. Predictors of recurrent febrile seizures. Arch PediatrAdolesc Med 1997;151:371-378
Navneet Kumar, Tanu Midha, and Yashwant Kumar Rao. Risk factors of recurrence of febrile seizures in children in a tertiary care hospital in Kanpur: One year follow up study. Ann Indian Acad Neurol. 2019 Jan-Mar;22(1):31-36
Nadirah Rasyid Ridha, P.Nara, Hadia Angriani, Dasril Daud. Identification of risk factors for recurrent febrile convulsion. Paediatr Indones 2009 Mar;49(2):87-90
Abdul Wahid Hussain, Abrar Ul Haq, Sohail Shahzad, Bilal Murtaza, Umar Nawaz, Munir Akmal Lodhi. Iron deficiency anemia – A risk factor for febrile seizures in children. Pak Armed Forces Med J 2018;68(5):1300-05
Worawit Kantamalee MD, Kamornwan Katanyuwong MD, Orawan Louthrenoo MD. Clinical characteristics of febrile seizures and risk factors of its recurrence in Chiang Mai University hospital. Neurology Asia 2017;22(3):203-208
Shabbir Hussain, Saba Haider Tarar, Moin Ud Din Sabir. Febrile seizures: demographic, clinical and etiological profile of children admitted with febrile seizures in a tertiary care hospital. J Pak Med Assoc 2015;65(9):1008-10
Esmaili Gourabi H, Bidabadi E, Cheraghalipour F, Aarabi Y, Salamat F. Febrile seizure: Demographic features and causative factors. Iran J Child Neurology 2012;6(4):33-7
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง