ผลของรูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดต้อกระจกต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือการผ่าตัดในสถานการณ์ COVID-19 โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research) ในแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน-หลังการทดลอง (Two group pre–posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจก(cataract) และรับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวนจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต้อกระจกตามปกติ จำนวน 30ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมความพร้อมตามรูปแบบเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยได้แก่ รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบประเมินความร่วมมือในการผ่าตัดต้อกระจกของผู้ป่วยในสถานการณ์ COVID-19 และแบบประเมินความวิตกกังวล STAI Form X-1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานใช้ paired t-test, Independent t-testและspearman rank correlation โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
- ผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 มีความวิตกกังวลลดลงหลังใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001( =51.40, S.D.=4.553VS =34.80,S.D.=2.696)
- ผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 มีความวิตกกังวล ( =43.23, S.D.=4.438)น้อยกว่ากลุ่มได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต้อกระจกตามปกติ ( =34.80, S.D.=2. 696)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
- ผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 มีความร่วมมือในการผ่าตัดต้อกระจก ( =33.40, S.D.=4.039) มากกว่ากลุ่มได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต้อกระจกตามปกติ ( =21.66, S.D.=4.253) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
- ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์แบบผกผันอยู่ในระดับปานกลางกับความร่วมมือในการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 (r=-0.613, p<0.001)
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่ารูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต้อกระจกในสถานการณ์ COVID-19 สามารถลดความวิตกกังวลและส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการผ่าตัดในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19
References
Resnikoff S, Pascolini D, Etyaale D, Kocur I, Pararajasegaram R, Pokharel GP, (2007).National survey of blindness and visual impairment in Thailand 2006-2007. Thai J PublHlth Ophthamol,21(1):10-94.
สำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริหารในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี2562. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์ พับลิสซิ่งจำกัด
ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์และโกศล คำพิทักษ์. (2550). ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมการแพทย์. (2563). ประกาศกรมการแพทย์ เรื่องแนวทางปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนเพื่อทำหัตถการ และการผ่าตัดในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019). (ออนไลน์).แหล่งที่มา
http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8182(สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564)
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). คำแนะนำจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ ฉบับแก้ไข. (ออนไลน์).แหล่งที่มา (ค้นเมื่อ1มีนาคม 2564)
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). USA: Lawrence.
จันทร์เพ็ญ ผลวงษ์. (2555). ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยสำหรับตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลตติยภูมิ ในจังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สจี ศักดิ์โสภิษฐ์. (2557). ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลายในระยะก่อนส่องกล้องโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
ธนาวรรณ ศรีสกุลวงศ์. (2556). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงดาว อรัญวาสน์, รัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณีและกชกร พลาชีวะ. (2555). ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. วิสัญญีสาร, 38(2), 102-108.
สุเธียรนุช ศิรินันติกุล. (2557). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 10(1), 1-12.
บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาสและคณะ. (2558). ผลของการสอนก่อนผ่าตัดโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้ และการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 1-7.
ณัฐรุจาฑ์ สุกแดง. (2557). ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่อพฤติกรรมการควบคุมภาวะน้ำคั่งของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุกฤตา ตะการีย์. (2557). ผลลัพธ์ของการพยาบาลที่มีการตั้งเป้าหมายร่วมกันในการฉีดอินซูลินด้วยตนเองในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ศศิธร สุทธิสนธิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดต้อเนื้อตา ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคริสเตียน.กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
Hinkle,D.E,William,W.and Stephen G. J. (1988).Applied Statistics for the behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง