การประเมินโรคที่แสดงอาการใกล้เคียงภาวะไส้ติ่งอักเสบในเด็ก ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
บทคัดย่อ
การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบในเด็กทำได้ยากเนื่องจากมีอาการแสดงที่หลากหลายและมีโรคที่พบในเด็กหลายโรคที่มีอาการทางคลินิกใกล้เคียงกัน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความชุกของโรคต่างๆเหล่านี้และค้นหาวิธีในการวินิจฉัยแยกโรค เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น โดยศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน การวินิจฉัยเบื้องต้นสงสัยภาวะไส้ติ่งอักเสบและส่งปรึกษาแผนกศัลยกรรมในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 มีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 233 คน วิเคราะห์ผ่านตัวแปรดังต่อไปนี้ ได้แก่ อาการทางคลินิก (ปวดท้องย้ายตำแหน่ง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ท้องผูก มีไข้) การตรวจร่างกาย (ลักษณะอาการทางหน้าท้อง การตรวจทางทวารหนัก) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยา และการวินิจฉัยโรคสุดท้ายของผู้ป่วย
ผลการศึกษาพบว่า การซักประวัติอย่างละเอียดรอบด้านโดยคำนึงถึงโรคต่างๆที่มีโอกาสพบได้และการตรวจร่างกายที่ครบถ้วนสามารถช่วยวินิจฉัยแยกโรคในเบื้องต้นเนื่องจากยังมีความแตกต่างของอาการทางคลินิกและการดำเนินโรคที่ใช้แยกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบออกจากโรคอื่นๆได้นอกจากนี้ การเลือกส่งตรวจทางรังสีวิทยาที่เหมาะสมเช่น เอ็กซเรย์หรืออัลตราซาวด์ช่องท้อง ก็มีประโยชน์ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากขึ้น
References
Shawn D. St. Peter. Appendicitis. In: George W. Holcomb III, J. Patrick Murphy, Shawn D. St. Peter. Holcomb and Ashcraft’s Pediatric Surgery. 7thedition. Missouri: Elsevier; 2020. P 664-674.
Geha Raj Dahal. Acute appendicitis in children: How is it different than in adults?. Grande Medical Journal 2019;1:35-38.
Belen Aneiros et al. Pediatric appendicitis: Age does make a difference. Rev Paul Pediatr 2019;37(3):318-324.
Saito J. M. Beyond appendicitis: evaluation and surgical treatment of pediatric acute abdominal pain. Curr Opin Pediatr 2012;24(3):357-64.
Kewan A. Hamid, Mohamed A. Mohamed, Anas Salih. Acute appendicitis in young children: A persistent diagnostic challenge for clinicians. Cureus 2018;10(3):e2347
Yousef Y. et al. Risk stratification in pediatric perforated appendicitis: Prospective correlation with outcomes and resource utilization. Journal of Pediatric Surgery 2018;53(2):250-255.
Reust C. E., Williams A. Acute abdominal pain in children. Am Fam Physician2016;93(10):830-6.
Bundy D. G. et al. Does this child have appendicitis?. JAMA 2007;298(4):438-51.
Korner H., Sondenaa K., Soreide J. A., Nysted A. The history is important in patients with suspected acute appendicitis. Digestive Surgery 2000;17(4):364-8.
Yangyang R. et al. Accuracy of surgeon prediction of appendicitis severity in pediatric patients. J Pediatr Surg 2019;54(11):2274-2278.
Lu Y. et al. Making a decision between acute appendicitis and acute gastroenteritis. Children 2020;7(10):176
B. Toorenvliet et al. Clinical differentiation between acute appendicitis and acute mesenteric lymphadenitis in children. Eur J Pediatr Surg 2011;21(2):120-3.
I. G. J. Hendriks et al. Does the Use of Diagnostic Imaging Reduce the Rate of Negative Appendectomy?. Acta Chir Belg 2015;115(6):393-6.
Wang Z., Ye J., Wang Y., Liu Y. Diagnostic accuracy of pediatric atypical appendicitis: Three case reports. Medicine (Baltimore) 2019;98(13):e15006.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง