การศึกษาการใส่สายระบายท่อไตเพิ่มโอกาสหลุดของนิ่วในท่อไตระหว่างทำการรักษาด้วยการสลายนิ่วในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
บทคัดย่อ
การใส่สายระบายท่อไต (DJ stent) เป็นหัตถการที่คุ้นเคยในศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะและการทำการสลายนิ่วเป็นหัตถการแรก ๆที่ศัลยแพทย์เลือกใช้ในวิธีรักษานิ่วในท่อไต ใน รพ.พหลพลหยุหเสนายังไม่เคยมีการศึกษาประสิทธิ์ภาพของการสลายนิ่ว (SWL)ในท่อไตร่วมกับการใช้ DJ stent มาก่อน วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อทราบประสิทธิ์ของการใส่สายระบายท่อไต (DJ stent)ก่อนทำการสลายนิ่วในท่อไต โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีการสลายนิ่ว (SWL) ในท่อไต (Ureteric stone) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ถึง เมษายน 2563 จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 375 ราย โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยอายุ เพศ ภูมิลำเนา ดัชนีมวลกาย ค่าการทำงานของไตประจำตัวผู้ป่วย ตำแหน่งนิ่ว ขนาดและความยาวของนิ่ว ระดับการบวมน้ำในกรวยไต ข้อมูลหัตถการ ได้แก่การใส่สายระบายท่อไต จำนวนครั้งของการสลายนิ่ว พลังงานสูงสุดที่ใช้ ยาที่ผู้ป่วยได้รับ ติดตามผลการรักษาโดยใช้ภาพถ่ายรังสีไตท่อไตกระเพาะปัสสาวะ (Film KUB) ในระยะเวลา 3 เดือน พบว่าอัตราผลสำเร็จในกลุ่มไม่ได้ใส่สายระบายท่อ(Non stent group) และกลุ่มใส่สายระบายท่อไต (Stent group) เป็น 55.9% และ 71.4% (P=0.020) การรักษานิ่วในท่อไตด้วยการสลายนิ่ว SWL ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนามีผลสำเร็จเทียบเท่ากับการศึกษาอื่น (51-55.9%) และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษานิ่วในท่อไตโดยวิธีใส่สาย DJ stent โดยไม่พบเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อผลสำเร็จของการรักษา และไม่พบผลแทรกซ้อนรุนแรงจากการใส่สายระบายท่อไต ทางผู้วิจัยแนะทำให้ใส่สายระบายท่อไตในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนเท่านั้น เนื่องจากผลข้างเคียงของการใส่สายระบายท่อไตจะมีผู้ป่วยมักพบอาการระคายเคืองได้มากกว่า
References
Tosukhowong P, Yachntha C, Sasivongsbhakdi T, Boonla C, Tungsanga K. Nephrolithiasis: Pathophysiology, therapeutic approach and health promotion. Chula Med J 2006 Feb;50(2):103-23.
C. Türk (Chair), A. Neisius, C. Seitz, A. Skolarikos (Vice-chair), A. Petrik, K. Thomas et.al. EAU GUIDELINES ON UROLITHIASIS. 2020, March,289-320.
Luke F. Reynolds, Tad Kroczak, Kenneth T. Pace. Indications and contraindications for shock wave lithotripsy and how to improve outcomes. Asian journal of urology 2018:vol 5:256-263.
Mohamed M. Elkholy, Hassan Ismail, Mohamed A. Abdelkhalek, Mohamad M. Badr, Mohamed M. Elfeky: .Efficacy of extracorporeal shockwave lithotripsy using Dornier SII in different levels of ureteral stones. Urology Annals 2014: Vol 6(4):346-351.
Tommy Kjærgaard Nielsen, Jorgen Bjerggaard Jensen. Efficacy of commercialised extracorporeal shock wave lithotripsy service: a review of 589 renal stones. BMC Urology 2017, 17:59
Shu Wang, YitianZhang,Xin Zhang, Yuzhe Tang, JianxingLi. Upper urinary tract stone compositions: the role of age and gender.IBJU2020;Vol 46(1):70-80.
A.Khalique,S.Arshad,P.Kumar,M.Hussain. Frequency of stone clearance after extracorporeal shockwave lithotripsy for renal stones in adult patients with renal insufficiency; African Journal of Urology; 2017: Vol 23: 219-223.
Hsi-Lin Hsiao, Shu-Pin Huang, Wen-Jeng Wu, Yung-Chin Lee, Wei-Ming Li, Yii-Her Chou. Impact of hydronephrosis on treatment outcome of solitary proximal ureteral stone after extracorporeal shock wave lithotripsy; Kaohsiung J Med Sci 2008;24:507–13.
M Hammad Ather, Aftab H Jafri, M Nasir Sulaiman. Diagnostic accuracy of ultrasonography compared to unenhanced CT for stone and obstruction in patients with renal failure; BMC Medical Imaging 2004; Vol 4(2).
Athanasios N. Argyropoulos and David A. Tolley. Ureteric stents compromise stone clearance after shockwave lithotripsy for ureteric stones: results of a matched-pair analysis; BJUI 2008; Vol 103;76-80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง