ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยระบบ E-submission ของผู้ประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภกัญญา ทองเดชาสามารถ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การคุ้มครองผู้บริโภค, การยื่นคำขออนุญาต, ผลิตภัณฑ์อาหาร, ระบบ E-submission

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยระบบ E-submission ของผู้ประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรี

วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางประชากรคือผู้ประกอบการที่ยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยระบบ E-submission ในจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึง 31 ตุลาคม 2566 โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยระบบ E-submission วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามจำนวน 188 คน (ร้อยละ 83.56) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการยื่นคำขออนุญาตด้วยระบบ E-submission โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.46, SD=0.92) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยระบบ E-submission อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เรียงตามขนาดอิทธิพล ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Beta=0.636; p<0.001) ปัจจัยด้านประสบการณ์การใช้งาน (Beta=0.128; p=0.012) ปัจจัยด้านอายุ (Beta=0.118; p=0.030) และปัจจัยด้านรูปแบบการยื่นคำขอ (Beta=0.111; p=0.035)

สรุปผล: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรีควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย   โดยการจัดอบรมและประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งแนะนำช่องทางการตรวจสอบข้อมูลการตั้งชื่ออาหารและการแสดงฉลากอาหารให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

References

สำนักเลขาธิการธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนที่ 82 ก (ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561).

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/strategymoph61_v10.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานประจำปี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2560. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 24 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://privus.fda.moph.go.th/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. รายการสถานประกอบการผลิตอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก:http://info.kanpho.go.th/healthsys/web/index.php

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านระบบ Online ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. นนทบุรี: สำนักงาน; 2562.

นิชานันท์ ชาวนา. ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1 [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ปิยะภรณ์ สุจริตตานันท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพการฝึกอบรมทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย [ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2563.

ไชยวิชิต ไชยสิทธิ์, กนกพร ธัญมณีสิน. การควบคุมและกำกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตผ่านระบบ E-submission: กรณีศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562;11(2):397-410.

คุ้มขวัญ ภมรศิลปธรรม. การพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารผ่านระบบ e-submission และ Auto e-permission ในจังหวัดนครปฐมปี 2562-2563. วารสารอาหารและยา. 2565;29(1):59-70.

อัครเดช ปิ่นสุข. การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาด ในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2557.

วีรญา ศรีวัชรกมล. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการสำรองที่นั่งบัตรโดยสารเครื่องบินทางเว็บไซต์ของสายการบินไทยแอร์เอเชียของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

สารภี สหะวิริยะ. ปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ [ปริญญารัฐประศาสศาสตรมหาบัณฑิต]: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

ธนชัย ประวีณานนท์. ความพึงพอใจของการให้บริการระบบการแจ้งเข้า-ออกของเรือ ผ่านระบบ National Single Window (NSW) กรณีศึกษาเขตพื้นที่ท่าเรือศรีราชา จังหวัดชลบุรี [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

เอมอร พลวัฒนกุล, สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร. สาเหตุของการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาการจัดการ. 2550;25(1):1-11.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 33 ง (ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563).

สิทธิศักดิ์ อมรสมานลักษณ์, ลินนา ทองยงค์, ฐณัฏฐา กิตติโสภี. การศึกษาปัจจัยปัญหาของหลักเกณฑ์การจดทะเบียนต่อการได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรไทย. วารสารอาหารและยา. 2554;18(13):21-8.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนพิเศษ 243 ง (ลงวันที่ 30 กันยายน 2562).

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ.2562 (ฉบับที่ 2). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนพิเศษ 289 ง (ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30