การศึกษาผลลัพธ์ของการให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง โดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารด้วยวิธีการดันสายในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • วรุณ ปลื้มสกุลไทย โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การผ่าตัดใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องโดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารด้วยวิธีการดันสาย เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ทำการเจาะรูทางหน้าท้องเพื่อใส่สายให้อาหารลงไปกระเพาะอาหารโดยตรง ไม่มีการดึงสายให้อาหารขึ้นมาผ่านทางแผลผ่าตัด ทำให้ช่วยลดการติดเชื้อรอบรูสายให้อาหารจากเชื้อที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร จึงเกิดการศึกษานี้ขึ้นเพื่อหาผลลัพธ์และภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด ระหว่างกลุ่มที่ให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดร่วมกับการทายาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง และกลุ่มที่ทายาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังเพียงอย่างเดียว

การศึกษานี้ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องโดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารด้วยวิธีการดันสายในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ตั้งแต่ มกราคม 2559  ถึง ธันวาคม 2563 จำนวน 100 คน โดยเก็บข้อมูลรายละเอียดลักษณะผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ สัญชาติ ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด เป็นต้น และข้อมูลรายละเอียดการผ่าตัด ได้แก่ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ระยะเวลาการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่พบหลังผ่าตัด เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินอัตราการติดเชื้อรอบรูสายให้อาหารทางหน้าท้องและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้งหมดระหว่างกลุ่มที่ให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดร่วมกับการทาน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง จำนวน 25 ราย กับกลุ่มที่ทาน้ำฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังอย่างเดียว จำนวน 75 ราย พบว่า มีอัตราการติดเชื้อรอบรูสายให้อาหารทางหน้าท้อง จำนวน 1 ราย (4%) และ 2 ราย (2.7%) ตามลำดับ และมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้งหมด จำนวน 3 ราย (12%) และ 5 ราย (6.7%) ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.395)

การทาน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังอย่างเดียวและไม่ให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องโดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารด้วยวิธีการดันสาย มีผลลัพธ์และภาวะแทรกซ้อนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับการให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด ซึ่งมีผลช่วยลดการเกิดผลข้างเคียงของการให้ยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วย และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดลงได้

References

Gauderer MW, Ponsky JL, Izant RJ Jr. Gastrostomy without laparotomy: a percutaneous endoscopic technique. J Pediatr Surg 1980;15:872-875.

Russell TR, Brotman M, Norris F. Percutaneous gastrostomy: a new, simplified, and cost-effective technique. Am J Surg 1984;14:132-137.

Ponsky JL, Gauderer MW. Percutaneous endoscopic gastrostomy: indications, limitations, techniques and results. World J Surg 1989;13:165-170.

Brown AS, Mueller PR, Ferruci JT. Controlled percutaneous gastrostomy: nylon t-fastener for fixation of the anterior gastric wall. Radiology 1986;158:543-545.

Van der Werken CHR, Van Vroonhoven THJMV, Juttmann JR, Stuifbergen WNHM. Gastropexie in Kombination mit perkutaner endoskopischer Gastrostomie. Chirurg 1987;58:118-119.

Larson DE, Burton DD, Schroeder KW, Dimagno EP. Percutaneous endoscopic gastrostomy. Gastroenterology 1987;93:48-52.

Miller RE, Castlemain B, Lacqua FJ, Kotler DP. Percutaneous endoscopic gastrostomy: results in 316 patients and review of literature. Surg Endosc 1989;2:186-190.

Steffes C, Weaver DW, Bouman DL. Percutaneousendoscopic gastrostomy: new technique, old complications. Am Surg 1989;55:273-277.

Jones SK, Neimark S, Panwalker AP. Effect of antibiotic prophylaxis in percutaneous endoscopic gastrostomy. Am J Gastroenterol 1985;80:10-15.

Jain NK, Larson DE, Schroeder KW, et al. Antibiotic prophylaxis for percutaneous endoscopic gastrostomy: a prospective randomized double-blind clinical trial. Ann Intern Med 1987;107:824-828.

Deitel M, Bendago M, Spratt EH, et al. Percutaneous endoscopic gastrostomy by the pull and the introducer methods. Can J Surg 1988;31:102-104.

Kozarek RA, Ball TJ, Ryan JA. When push comes to shove: a comparison between two methods of percutaneous endoscopic gastrostomy. Am J Gastroenterol 1986;81:642-646

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31