ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลสายสวนปัสสาวะต่อความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ

ผู้แต่ง

  • สมสกุล บัวประเสริฐ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลสายสวนปัสสาวะ, ความรู้ความสามารถของผู้ดูแล, ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลสายสวนปัสสาวะต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะที่มารับการตรวจที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2566 จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการในการดูแลสายสวนปัสสาวะ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และความสามารถของผู้ดูแล วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและแบบเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: ก่อนการทดลองอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีความรู้และความสามารถไม่ต่างกัน หลังการทดลองสองอาทิตย์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม (17.17+1.15 vs 14.47+1.01; p <0.001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลผู้ป่วยสูงกว่ากลุ่มควบคุมเช่นเดียวกัน (17.93+1.14 vs 14.70+0.75; p <0.001)

สรุปผล: โปรแกรมการดูแลสายสวนปัสสาวะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาสามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น

References

วสันต์ เศรษฐวงศ์, วชิร คชการ. การดูแลผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ. กรุงเทพฯ: ไอเดียอินสแตนท์พริ้นทิ่ง; 2557.

สุปราณี เสนาดิสัย, วรรณภา ประไพพาณิช. การคาสายสวนปัสสาวะ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

Thamlikitkul V, Jintanothaitavorn D, Sathitmethakul R, Vaithayaphichet S, Trakulsomboon S, Danchaivijitr S. Bacterial infections in hospitalized patients in Thailand in 1997 and 2000. J Med Assoc Thai. 2001;84(5):666-73.

Temiz E, Piskin N, Aydemir H, Oztoprak N, Akduman D, Celebi G, et al. Factors associated with catheter-associated urinary tract infections and the effects of other concomitant nosocomial infections in intensive care units. Scand J Infect Dis. 2012;(5):344-9.

Leone M, Albenese J, Gamier F, Sapin C, Barrau K, Bimar MC, et al. Risk factors of nosocomial catheter-associated urinary tract infection in a polyvalent intensive care unit. Intensive Care Unit. 2003;29(6):929-32.

Orem DE. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

Flores-Mireles AL, Walker JN, Caparon M, Hultgren SJ. Urinary Tract Infections: Epidemiology, Mechanisms of Infection and Treatment Options. Nature Reviews Microbiology. 2015;13:269-284.

กำธร มาลาธรรม. การติดชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดในโรงพยาบาล. ในสมาคมโรคติดเชื้อแห่ง ประเทศไทย. ตำราโรคติดเชื้อ 2. กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2548.

สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. วิธีป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา–ศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

อนุสรา แก้ววิชัย. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาทโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

คณะกรรมการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ. โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี; 2565.

ณิสาชล นาคกุล. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี.วารสารกระทรวงสาธารณสุข. 2561;4(2):27-39.

ชรินทร์ทิพย์ ชัยชุมพล. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่พิการทางการเคลื่อนไหวของญาติผู้ดูแลในตำบลกระแซง อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2561;24(2):52-66.

เพ็ญพิมล เปียงแก้ว. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2566; 6(1):1-14e261894.

Grealish L. The skill of coaching are an essential element in clinical learning. J Nurs Educ. 2000;39(5):231-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29