ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการสื่อสารด้วยเอสบาร์ของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • พิสมัย เชื้อทอง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • ชนากานต์ อนันตริยกุล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

การรับและส่งเวรทางการพยาบาล, การสื่อสาร, เอสบาร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการรับและส่งเวรทางการพยาบาล ระหว่างก่อนและหลังใช้โปรแกรมการสื่อสารด้วยเอสบาร์ และเปรียบเทียบอุบัติการณ์ความเสี่ยงระดับ C ขึ้นไปจากการรับและส่งเวรทางการพยาบาล

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาศึกษาวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 - 30 พฤศจิกายน 2566 บันทึกระยะเวลาในการรับและส่งเวร และอุบัติการณ์ความเสี่ยงรุนแรงระดับ C ขึ้นไปก่อนและหลังการใช้โปรแกรม รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้โปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และ incidence rate ratio

ผลการวิจัย: ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลหลังทดลองน้อยกว่าก่อนทดลองอย่าง   มีนัยสำคัญทางสถิติ (191.50+128.44 และ 174.00+117.03 นาทีต่อวัน; p=0.046) หลังทดลองความเสี่ยงระดับ C ขึ้นไป จากการรับและส่งเวรทางการพยาบาล น้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.06 และ 0.79 ครั้ง/1,000 วันนอน; p<0.001)

สรุป: โปรแกรมการสื่อสารด้วยเอสบาร์ของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยอายุรกรรม สามารถเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารระหว่างทีมการพยาบาลได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการส่งเวรที่คลาดเคลื่อน และเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้

References

Stewart KR. SBAR, communication, and patient safety: an integrated literature review. [Honors Theses]. Chattanooga: University of Tennessee; 2016.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). Patient Safety Goals Thailand: SIMPLE Thailand 2018. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล; 2561.

Ross J. Developing a better understanding of handoffs. J Perianesth Nurs. 2012;27(5):360-2.

Casey A, Wallis A. Effective communication: principle of nursing practice. Nurs Stand. 2011;25(32):35-7.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานพยาบาล (HRMS&NRLS) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก:

http://hrms163.thai-nrls.org/hrms10731 ปี 2563-2565.

Wilson MJ. A template for safe and concise handovers. Med surg Nurs. 2007;16(3):201-6.

Sexton A, Chan C, Elliott M, Stuart J, Jayasuriya R, Crookes P. Nursing handovers: do we really need them. J Nurs Manag. 2004;12(1):37-42.

กรรณิกา ธนไพโรจน์, สุคนธ์ ไข่แก้ว, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2561;14(1):9-24.

David K, Berlo. The process of communication. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc; 1960.

เสาวนีย์ ราชคม, มงคล สุริเมือง, ศรีสุดา อัศวพลังกูล. ประสิทธิผลของการนิเทศทางการพยาบาลต่อความถูกต้องในการส่งเวรโดยใช้เทคนิคการสื่อสารแบบ ISBAR. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร. 2565;26(1):76-88.

Kelly P. Nursing leadership & management. USA: Cengage Learning; 2021.

ณัฐวดี ชำปฏิ, เบญจภรณ์ ต้นจาน. ประสิทธิผลและความพึงพอใจของการจัดการส่งเวรด้วยรูปแบบ SBAR ในระบบ HIS ของพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคราม. 2565;19(3):41-52.

กฤติยากร อินยา. ผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566;8(1):119-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29