ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิและระดับความพึงพอใจในการให้บริการของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากประชาชนที่มารับบริการด้านสุขภาพในเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับการรับบริการด้านสุขภาพ และความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิของ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.16 ความพึงพอใจต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.27 ความพึงพอใจต่ออัธยาศัยและการเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย 4.06 เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า อาชีพเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 2=16.74) p<0.05 การศึกษาระดับปฐมศึกษาหรือต่ำกว่า มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 2=5.82) p<0.05 และรายได้ต่อเดือน 7,501-10,000 บาท มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 2=68.81) p<0.05 สำหรับเพศ อายุ และสถานภาพสมรส เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
References
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11
กฤษฎา บุญชัย. (2556). แนวคิดและทัศนะต่อความเป็นธรรมของกลไกสำคัญในการอภิบาล ระบบสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ธนาธิป สุมาลัย. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย.
สุวิมลคำย่อย. (2555). ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหยวก อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Weber, M. (1999). The Theory of Social and Economic Organization. Trans. By A.M. Henderson and Talcott Person. (4th ed.). New York: The Free Press.
สถาบันวิจยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2559). ความพึงพอใจของ ผู้รับบริการ ที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บานจอมบง
ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของ โรงพยาบาลธนบุรี. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง