การพัฒนางานบริการทางเภสัชกรรมโดยใช้ใบสรุปการใช้ยารูปภาพและการจัดยาตัวอย่างแบบ unit dose โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การจัดยาตัวอย่างแบบยูนิตโดส, ความร่วมมือในการใช้ยา, ใบสรุปการใช้ยารูปภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเสริมความเข้าใจภาพรวมในการใช้ยาของผู้ป่วยด้วยการพัฒนางานบริการทางเภสัชกรรมโดยใช้ใบสรุปการใช้ยารูปภาพและการจัดยาตัวอย่างแบบยูนิตโดสต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาใบสรุปการใช้ยารูปภาพสำหรับผู้ป่วย มีผู้เข้าร่วมการวิจัย 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และระยะที่ 2 การศึกษาผลของการเสริมความเข้าใจภาพรวมในการใช้ยาของผู้ป่วยด้วยใบสรุปการใช้ยารูปภาพและการจัดยาตัวอย่างแบบยูนิตโดสต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยใช้การศึกษากึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลัง โดยประเมินความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย (Medication Adherence Scale for Thais; MAST) มีผู้เข้าร่วมการวิจัย 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย: การทดสอบความถูกต้องในการสื่อความหมายของสัญลักษณ์ภาพในใบสรุปการใช้ยารูปภาพจำนวน 7 ภาพ พบว่า ทุกสัญลักษณ์ภาพที่นำมาใช้มีความถูกต้องในการสื่อความหมายมากกว่าร้อยละ 85 และหลังการทดลองจ่ายยาผู้ป่วยโดยใช้ใบสรุปการใช้ยารูปภาพและการจัดยาตัวอย่างแบบยูนิตโดสพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการใช้ยารวมทุกข้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (32.93±1.60 และ 34.12±2.53; p<0.001)
สรุป: การให้บริการทางเภสัชกรรมร่วมกับการใช้ใบสรุปการใช้ยารูปภาพและการจัดยาตัวอย่างแบบยูนิตโดสสามารถเพิ่มพฤติกรรมความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยได้ทั้งนี้อาจมีข้อจำกัดบางประการในผู้ป่วยที่ใช้ยานอกเหนือจากรูปแบบรับประทาน
References
สมเกียรติ โพธิสัตย์, เนติมา คูนีย์, รัชนี บูลย์อุดมชัยรัตน์, พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์, สุรีพร คนละเอียด, ศุภลักษณ์ มิรัตนไพร, เกตุแก้ว สายน้ำเย็น.การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: บริษัทอาร์ตควอลิไฟท์จำกัด; 2557.
World Health Organization. Noncommunicable diseases [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2024 Aug 30]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases
จุติพร วรรณศิริ. สานพลังกลุ่มโรค NCDs อายุยืน ลดสูญเสีย-ลดป่วย-พิการ ก่อนวัยอันควร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2566 [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2567]. จาก: https://www.thaihealth.or.th/สานพลังกลุ่มโรค-ncds-อายุยืน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แนะผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs กินยาตามแพทย์สั่งเพื่อผลดีต่อสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2567]. จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=233611
กุลธิดา ไชยจินดา. การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยาที่เป็นรูปภาพสำหรับผู้ป่วยไทยในภาคเหนือที่มีทักษะการรู้หนังสือน้อย [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
บวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การพัฒนาฉลากภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ ตอนที่ 1: วิธีการรับประทานยาเม็ด. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2557;6(1):41-60.
บวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต.การพัฒนาฉลากภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ ตอนที่ 2: คำแนะนำการใช้ยา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2557;6(1):61-74.
วิระพล ภิมาลย์, ภัทรพล เพียรชนะ, รวิอร รังสูงเนิน, ลิขิต ฤทธิยา, วิภาดา ภัทรดุลย์พิทักษ์. การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยารูปภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังสูงอายุ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2557;9 (พิเศษ):109-15.
ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ, นิอิดรุส กูดาโตะมูลียอ, ศรีสุดา คงหนู, มายือนิง อิสอ. ผลของฉลากยารูปภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้: กรณีศึกษา ในชุมชนมุสลิมแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(5):871-81.
ทสมา กุลทวี, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. การพัฒนาและประเมินผลของฉลากภาพ “คำแนะนำการใช้ยา” สำหรับผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมที่ไม่รู้หนังสือ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562;12(2): 326-342.
Marra G Katz, Sunil Kripalani, Barry D Weiss. Use of pictorial aids in medication instructions: a review of the literature. Am J Health Syst Pharm. 2006;63(23):2391-7.
American National Standard Institute. Accredited standard on safety colours, signs, symbols, labels, and tags, vol. Z535. Washington (DC): National Electrical Manufacturers Association, 1991.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.
Hansen RA, Kim MM, Song L, Tu W, Wu J, Murray MD. Adherence: comparison of methods to assess medication adherence and classify nonadherence. Ann Pharmacother. 2009;43(3):413-22.
John Medina. Brain rules. 2nd edition. United States of America: Pear Press; 2014.
กมลชนก จงวิไลเกษม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับ คนไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563;13(1):17-30.
อมรพรรณ ศุภจำรูญ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสาหรับชาวไทย: การทดสอบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน.วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561;10(2):607-19.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง