ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่มารับบริการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็กที่คลินิกประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
สื่อวีดิทัศน์การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย, การให้ยาระงับความรู้สึก, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, การผ่าตัดแผลเล็กบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่มารับบริการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็กที่คลินิกประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มดำเนินการวิจัยระหว่าง กรกฎาคม-สิงหาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือสื่อวีดิทัศน์การให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่มารับบริการให้ยาระงับความรู้สึกส่วนกลุ่มควบคุมให้ความรู้ตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกอุบัติการณ์การงดหรือเลื่อนผ่าตัดจากความไม่พร้อมของผู้ป่วย วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนความรู้ระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ independent t-test
ผลการศึกษา: คะแนนความรู้การเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกของทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังทดลองเท่ากับ 13.80±1.49 และ16.44±1.31 (p<0.001) ส่วนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังทดลองเท่ากับ 14.56+3.03 และ19.56+1.85 (p<0.001) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
สรุปผลการศึกษา: การให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยผ่านสื่อวีดิทัศน์ที่ดูจากสมาร์ทโฟนและกลับไปดูที่บ้านได้ช่วยให้ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เฉลี่ยสูงขึ้น และไม่พบอุบัติการณ์การงดหรือเลื่อนผ่าตัดจากความไม่พร้อมหรือการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของผู้ป่วย ดังนั้นการใช้สื่อวีดิทัศน์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการให้ความรู้การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัด
References
กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(Service Plan) สาขาศัลยกรรม. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอแนะ ด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็ก.กรุงเทพฯ:จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2565.
มานี รักษาเกียรติศักดิ์. การประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง; 2563.
มิ่งขวัญ วงษ์ยิ่งสิน, อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์, สมบูรณ์ เทียนทอง และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับคลินิกประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่วย ก่อนการระงับความรู้สึกที่ให้บริการผ่าตัดแบบวันเดียวกับและการผ่าตัดแผลเล็ก โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. วิสัญญีสาร 2564;47(4):388-39.
จารุจิต ประจิตร อัศนี วันชัย และศุภิสรา สุวรรณชาติ.ผลการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนระงับความรู้สึกต่อระดับความรู้และความพึงพอใจสื่อการสอน ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้า. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2563;26(1):45-57.
จุฬาภรณ์ ศรีเมือง. ผลการใช้โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับสื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยระยะเตรียมการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แผนกหูคอจมูก โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565;30(3):387-398.
บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาส, กาญจนา โกกิละนันทน์, นงเยาว์ ธิติไพศาล และคณะ.ผลของการสอนก่อนผ่าตัดโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;9(1):1-7.
จงดี ปานสุวรรณ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ.ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวความสะอาดของลำไส้และความวิตกกังวลในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม.สุวรรณราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2565;12(1):136-148.
สมฤทัย บุญชูดวง, วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, อำพรรณ จันทโรกร และคณะ. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ เรื่องการฝึกหายใจแบบมีประสิทธิภาพเพื่อเตรียมตัวก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว.ศรีนครินทร์เวชสาร 2555;27(2):139-146.
ศุภางค์ ดำเกิงธรรม,ยุพาพร หงส์สามสิบเจ็ด และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล.ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564;29(1):50-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง