ผลของการพยาบาลที่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติการป้องกันแผลกดทับของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง

ผู้แต่ง

  • สรสิรี ภุมรินทร์ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลมะการักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยทดลองขั้นต้น (Pre-experimental design) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถในการปฏิบัติการป้องกันแผลกดทับของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังได้รับการพยาบาลที่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จํานวน 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ คู่มือการพยาบาลที่บ้าน ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มและกระบวน การพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป และ แบบประเมินความสามารถในการป้องกันแผลกคทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง วิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความสามารถก่อน-หลังได้รับการพยาบาลที่บ้าน โดยสถิติทคสอบ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปผู้ดูแล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ70 ช่วงอายุพบอายุ 56-75 ปี ร้อยละ 56.7 จบการศึกษาระดับประถม ร้อยละ 36.7 ประกอบอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน ร้อยละ 30.0 ความสัมพันธ์เป็นสามี/ภรรยา ร้อยละ 36.7 และมีรายได้น้อยกว่า 10,.000 บาท ร้อยละ 76.7 ระยะเวลาในการดูแลผู้สูงอายุ 4-7 วัน ร้อยละ 46.7 บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุคือสมาชิก ในครอบครัว ร้อยละ 86.7 ประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ไม่เคยมีประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 60

2. จากการวิเคราะห์ความสามารถของผู้ดูแลพบว่าความสามารถในการปฏิบัติการป้องกัน แผลกดทับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังให้การพยาบาลที่บ้านดีกว่าก่อนการให้การพยาบาลที่บ้าน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

จากผลการวิจัยที่ได้ ควรมีการนําการพยาบาลที่บ้านมาส่งเสริมและสนับสนุนให้พยาบาล ที่มีหน้าที่ดูแลและปฏิบัติงานในชุมชนใช้ในการวางแผน ติดตาม ส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงในการปฏิบัติการป้องกันแผลกดทับอย่างต่อเนื่องที่บ้าน และชุมชน อีกทั้งควรนําคู่มือ ในการดูแลป้องกันแผลกดทับในผู้สูงอายุให้ผู้ดูแลและญาติไปใช้ และเพื่อช่วยเตือนความจําในการปฏิบัติตัว และควรมีการติดตามประเมินผล การพยาบาลที่บ้านสามารถนําไปใช้ในการเพิ่มความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันแผลกดทับในผู้สูงอายุทําให้ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงได้ เป็นภาระน้อยลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

References

พิมพ์นิภา ศรีนพคุณ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาล นวัตกรรมที่นอนยางห่างหายแผลกดทับ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ.(วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม; 2565.

อรวรรณ บุตรทุมพันธ์ และ วาสนา ฬาวิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง: การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่. Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 140-148 ; 2563.

Orem, D. E., Talor, G. Renpenning, K. M. Nursing: Concept of practices. St. Louis: Mosby; 2001.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175-91

สุนทร สิทธิสกุลเจริญ, กิตติภัฎ รัตนจันทร์, จิดาภา แสงวณิช, นันท์นภัส สิทธิสกุลเจริญ. เตียงพลิกตัวป้องกันแผลกดทับ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2561.

ศิริกัญญา อุสาหพิริยกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาต่อความสามารถในการลงมือปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับ. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม; 2561.

ศุภวดี ลิมปพานนท์. ผลของการพยาบาลที่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนากาญจนบุรี; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite

1.
ภุมรินทร์ ส. ผลของการพยาบาลที่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติการป้องกันแผลกดทับของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง. Phahol Hosp J [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2022 [อ้างถึง 22 มกราคม 2025];11(32):30-9. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/966