การศึกษาลักษณะทางคลินิคของโรคมาลาเรียไวแว็กซ์ในจังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
โรคมาลาเรียเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวติดต่อสู่คนผ่านการกัดของยุงก้นปล่องที่มีเชื้อ อาการสำคัญ คือ ไข้ หนาวสั่น โรคมาลาเรียไวแว็กซ์ยังเป็นมาลาเรียที่สำคัญในประเทศไทยเนื่องจากพบอุบัติการณ์ได้บ่อยที่สุดซึ่งเป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการมาก แต่สามารถเป็นๆหายๆจากเชื้อที่มีระยะหลบพักในตัว และอาจพบได้ในบางรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตการรักษาทำได้โดยการให้ยาต้านมาลาเรีย และป้องกันได้โดยการใช้มาตรการป้องกัน เช่น มุ้ง หรือยาฆ่าแมลง การศึกษานี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของมาลาเรียไวแว็กซ์ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคนี้ต่อไป
จากการศึกษาพบว่าลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยชาย และหญิงในจำนวนเท่าๆกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว และอาการแสดงที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 97.70 มีอาการไข้ อาการรองลงมาได้แก่อาการหอบเหนื่อยร้อยละ 33.30 และปวดศีรษะร้อยละ 25.60 นอกจากนี้อาจพบอาการอื่นๆได้เล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาเหลือง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ส่วนใหญ่พบมีภาวะเกร็ดเลือดต่ำร่วมด้วยและการทำงานของตับ (LFT) ที่พบมีภาวะตับอักเสบร่วมกับค่าบิลลิรูบินสูงเล็กน้อยปกติ
จากการศึกษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ P.vivaxในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากถึง 51.16 %ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด หรือ 66 รายจาก 129 ราย โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ความดันโลหิตต่ำ 52 ราย (40.30%) โลหิตจางจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตก 18 ราย (14%) ไตวาย 14 ราย (10.9%) ตับอักเสบ 14 ราย (10.9%) ระบบหายใจล้มเหลว 11 ราย (8.5%) ภาวะเลือดเป็นกรด 12 ราย (9.30%) และพบมีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (0.8%) จากภาวะ mutiorgan failure จะเห็นได้ว่าเชื้อ P.vivax นั้นก็พบภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยเช่นกัน
สำหรับเชื้อ P.vivaxผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาด้วยสูตรยา Chloroquine ร่วมกับยา primaquine และในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนก็จำเป็นต้องได้รับยา artesunate IV ในช่วงแรกของการรักษา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบผู้ป่วยที่มีสภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ แต่ผลการรักษาผู้ป่วยร้อยละ 99.20 หายเป็นปกติ แสดงถึงผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่าจังหวัดกาญจนบุรีมีการรักษามาลาเรียที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วย P.vivax ส่วนใหญ่มีการพยากรณ์โรคที่ดี สอดคล้องกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ที่แนะนำให้ใช้การรักษาแบบผสมผสานที่ใช้ยา artesunate ในการรักษาการติดเชื้อมาลาเรีย P.vivax ที่มีภาวะแทรกซ้อน และแนะนำให้ใช้ primaquine ซึ่งเป็นยาที่หวังผลในการกำจัดเชื้อที่อยุ่ในตับ เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค
References
กรมควบคุมโรค แ. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย กรุงเทพฯ: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
Baird JK, Valecha , Duparc , White , Price. Diagnosis and Treatment of Plasmodium vivax Malaria. Am. J. Trop. Med. Hyg. 2016;: p. 35-51.
Howes , Smith DL, Mendis , Battle , Cibulskis , Baird JK, et al. Global Epidemiology of Plasmodium vivax. Am. J. Trop. Med. Hyg. 2016;: p. 15-34.
World Health Organization. (2021). Malaria. Retrieved from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malaria.
Centers for Disease Control and Prevention. (2021). Malaria. Retrieved from https://www.cdc.gov/malaria/index.html.
World Health Organization. (2019). World malaria report 2019. Retrieved from:
https://www.who.int/publications/i/item/9789241565721.
White, N. J., &Pukrittayakamee, S. (2014). Malaria. The Lancet, 383(9918), 723-735.
Murray, C. J., Ortblad, K. F., Guinovart, C., Lim, S. S., Wolock, T. M., Roberts, D. A., ... & Lopez, A. D. (2014). Global, regional, and national incidence and mortality for HIV, tuberculosis, and malaria during 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study2013. The Lancet, 384(9947), 1005-1070.
World Health Organization. (2020). Malaria vaccine implementation programmed (MVIP). Retrieved from:
https://www.who.int/initiatives/malaria-vaccine-implementation-programme.
Nosten, F., White, N. J., & Artemisinin Resistance in Malaria Consortium. (2016). Artemisinin resistance in malaria. New England Journal of Medicine, 375(25), 2457-2460.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง