ปรากฏการณ์หลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในระยะแรก : กรณีศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ผ่านการรับรู้ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการองค์การในระยะแรกหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งหมด 3 ด้าน 1.ด้านการบริหารจัดการองค์การ 2.ด้านคุณภาพบริการ และ 3.ด้านความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ ใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.798 สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 187 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบ (Paired Sample T-Test) การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตีความและการให้ความหมาย
ผลการวิจัยพบว่าก่อนและหลังการถ่ายโอน ทั้ง 3 ด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยลดลง ด้านบริหารจัดการองค์การ ก่อน (=3.36, S.D.=0.79) และหลัง (=2.77, S.D.=1.02)การถ่ายโอนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านคุณภาพในการให้บริการก่อนการถ่ายโอน (=3.82, S.D.=0.85) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก หลังการถ่ายโอน (=2.81, S.D.=1.28) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ก่อน (=3.45, S.D.=1.16) และหลัง (=2.77, S.D.=1.01) การถ่ายโอนมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักพบว่า หลังการถ่ายโอนมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ขาดความชัดเจนและความพร้อมเพื่อรองรับการถ่ายโอน คุณภาพบริการที่ลดลงจากผลกระทบด้านระเบียบและกฎหมายวิชาชีพ
ประโยชน์ที่จะนำไปใช้สามารถนำผลการศึกษาเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคและส่งเสริมพัฒนาสิ่งดีที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้ให้การถ่ายโอนที่ผ่านมาและรุ่นต่อไปมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการประชาชนและเจ้าหน้าที่มีความสุขในการปฏิบัติงาน
References
ราชกิจจานุเบกษา.(2564).ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. (2564, 19 ตุลาคม)ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 254 ง. หน้า 14-15.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพุทธศักราช 2542. (2542,17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114 ก. หน้า 48-66
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี (2565). รายงานการประชุมประจำเดือนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง เดือน พฤศจิกายน 2565. (2565, 5 พฤศจิกายน)
Gulick, H. L., &Urwick, F. L. (1937). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration
Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York. Harper and Row Publications.
กันยารัตน์ สมบัติธีระ; และ ยุพา ถาวรพิทักษ์. (2558). อัตราการตอบกลับแบบสอบถามและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ในงานวิจัยด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บศ.)15(1) 105-113.
Likert, Rensis. (1967).The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Hardigan, P.C., Succar, C.T. & Fleisher, J.M. (2012). An Analysis of Response Rate and Economic Costs Between Mail and Web3 Based Surveys Among Practicing Dentists: A Randomized Trial. J Community Health. 383-394.
สมยศ แสงมะโนสุพรชัย ศิริโวหารกัลทิมา พิชัย.(2557). ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลจากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่.สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org, เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566
นภัสภรณ์ เชิงสะอาด, สิทธิพรร์ สุนทร และเสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Politics and Governance,12(3) 112-126
ตุลยวดี หล่อตระกูล. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อการถ่ายโอนภารกิจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา 12(1) 64-72.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง