ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ศิกา ใคร่ครวญ กลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาระหว่างก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน  2564 ถึง 30 เมษายน 2565 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พยาบาลวิชาชีพทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 24 คนที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วย ประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา กลุ่มผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มละ 244 ราย  การเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้สุตรของ Taro Yamane โดยแบ่งสัดส่วน  เช้า: บ่าย : ดึก 4: 5 : 1เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแนวปฏิบัติในการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วย ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2561 MOPH Emergency Department (ED) Triage เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบบันทึกประกอบด้วยแบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบบันทึกข้อมูลความถูกต้องของการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติ paired samples t-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่าการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนใช้แนวปฏิบัติในการคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 81.6 โดยการคัดกรองระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยต่ำกว่าระดับความฉุกเฉินจริงของผู้ป่วยร้อยละ 7.0 การคัดกรองระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยสูงกว่าระดับความฉุกเฉินจริงของผู้ป่วยร้อยละ 6.9 หลังการใช้แนวปฏิบัติในการคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 96.3 โดยการคัดกรองระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยต่ำกว่าระดับความฉุกเฉินจริงของผู้ป่วยร้อยละ 1.6 การคัดกรองระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยสูงกว่าระดับความฉุกเฉินจริงของผู้ป่วยร้อยละ 2.0 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วย พบว่าการคัดกรองหลังการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องมากกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

จากผลการศึกษา จะเห็นได้ว่า แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้แนวปฏิบัติในการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

References

Dehli, T., Fredriksen, K., Osbakk, S.A., &Bartnes,K. (2011). Evaluation of a University Hospital Trauma Team Activation Protocol. Scandinavian Journal of Trauma Resuscitation and Emergency Medicine,19(18), 1-7.

Ming, T., Lai, A., & Lau, P. (2016). Can Team Triage Improve Patient Flow in the Emergency Department A Systematic Review and Meta-Analysis. Advanced Emergency Nursing Journal, 38, 233-50.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558 ). คู่มือแนวปฏิบัติปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สหัศถญา สุขจำนงค์, บัวบาน ปักการะโต, สายสกุล สิงห์หาญ, วิศรุต ศรีสว่าง และ ผดุงศิษฏ์ชำนาญบริรักษ์ (2564 ). คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(2),123-133.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED Triage. นนทบุรี: โรงพิมพ์สานักวิชาการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.

โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. (2565). สถิติข้อมูลงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. 2562-2564.

ณัฏฐิกา แซ่แต้ และ พัชรินทร์ นะนุ้ย. (2565). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่าย โรงพยาบาลยะลา. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health,9(1),149-161.

ปุณยนุช ปิจนำ. (2563). ผลการศึกษาการคัดแยกประเภทผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวังชิ้น. Journal of the Phrae Hospital, 28(1), 152-162.

ทัศนีย์ภาคภูมิวินิจฉัย, โสพิศเวียงโอสถ และ กฤตพัทธ์ฝึกฝน. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(1), 66-75.

ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ปริวัฒน์ ภู่เงิน, กมลวรรณ เอี้ยงฮง, กรกฏ อภิรัตน์วรากลุ และพะนอ เตชะอธิก. 2557. (2557). Essential knowledge in emergency care. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: คลังนานา.

พิมพา วีระคา, คัคนนันท์ วิริยาภรณ์ประภาส, ศิริพร จักรอ้อม และ พิชญุตม์ ภิญโญ. (2562). ประสิทธิผลของการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยตามระบบ MOPH ED Triage ต่อความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลแม่สาย. วารสารกรมการแพทย์, 44( 5), 70-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30