วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จำนวน 469 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนเมษายน 2564 ถึง เดือนกรกฎาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ข้อมูลส่วนบุคคล 2.แบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล (สรพ.) ซึ่งมี 12 มิติ ประกอบไปด้วย 1.ความคิดเห็นต่อความถี่ในการรายงานเหตุการณ์ 2.ความเห็นต่อความปลอดภัยในภาพรวม 3.ความคาดหวังของที่ปรึกษา/ผู้จัดการ และกิจกรรมการส่งเสริมความปลอดภัย 4.การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5.การทำงานเป็นทีมภายในหน่วยงานของโรงพยาบาล 6.การสื่อสารที่เปิดกว้าง 7.การสื่อสารและการรับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความผิดพลั้ง 8.การตอบสนองต่อความผิดพลั้งที่ปราศจากผลร้ายกับตนในภายหลัง 9.การจัดคนทำงาน 10.การสนับสนุนด้านการจัดการโรงพยาบาลสำหรับความปลอดภัยของผู้ป่วย 11.การทำงานเป็นทีมระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาล 12.การส่งต่องานและการเปลี่ยนผ่านระหว่างหน่วยงาน/เวร และ 3. แบบสอบถามปลายเปิดให้แสดงความเห็นต่อระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยและความเห็นต่อจำนวนการรายงานเหตุการณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพโดยรวมร้อยละ 49.7 มีความคิดเห็นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย/ผู้รับบริการในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาอยู่ในระดับที่ดีมากร้อยละ 36.2 เห็นว่าโรงพยาบาลเป็นที่ยอมรับได้ มีการรายงานเหตุการณ์ 1–2 รายงานร้อยละ 31.8 ไม่มีการรายงานเหตุการณ์ร้อยละ 14.5 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความผิดพลั้ง หรือการรายงานเหตุการณ์เกิดจากปริมาณงาน/จำนวนผู้รับบริการที่มีมาก แต่ทุกคนมีความตระหนักดีเพิ่มการเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติงานของตนอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันความผิดพลั้งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้และมีข้อเสนอแนะว่า ทีมบริหารความเสี่ยงควรมีการแจ้งข้อตกลง หรือแนวทางปฏิบัติใหม่หลังจากมีการทบทวนปัญหาการรายงานเหตุการณ์ความผิดพลั้งร่วมกันให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบอย่างชัดเจน และทั่วถึง
References
กิตติ ลิ่มอภิชาต. “สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยด้วยกลยุทธ์การจัดการความรู้” บทความบรรยายร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย รากฐานสู่ความเป็นเลิศของศิริราช (ออนไลน์). 2552. สืบค้นวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 จาก: http://medinfo.psu.ac.th/km/data/ ksd/101.ppt.
The World Health Organization World Alliance for Patient safety to develop and international patient Safety Event Classification. The concept framework an international patient safety event classification [Internet]. 2006 [cited 2007 June 04]; Available from: http://whoicps.org/resources.
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ประจำปีการพัฒนาและรับรองคุณภาพคุณภาพโรงพยาบาลครั้งที่ 15, 2561.
สภาการพยาบาล. การรับรองคุณภาพบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับทุติ-ตติยภูมิ. กรุงเทพมหานคร: สภาการพยาบาล; 2556.
สุเมธา เฮงประเสริฐ. ตัวชี้วัดการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยในกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. “แบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล”(ออนไลน์), 2551. ค้นคืนวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.gotoknow.org/ blog/puala-story.
บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 .กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์; 2553.
สมบูรณ์ สุโฆสิต. วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลตำรวจ. ปีที่ 6. ฉบับที่ 1 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง