ปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายโอนของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • จารึก ไพศาล สำนักงานสาธารณสุข อำเภอท่าม่วง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้  ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ระดับความรู้ในการถ่ายโอน ระดับทัศนคติในการถ่ายโอน และระดับแรงจูงใจในการถ่ายโอนของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (logistic regressions) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ขนาดตัวอย่าง จำนวน 82 คน เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2565

ผลการศึกษา พบว่าเจ้าหน้าที่มีเพศ ในการถ่ายโอนย้ายไม่แตกต่างกัน   ผู้ที่มีอายุแตกต่างกันโดยผู้ที่อายุ 51 ปีขึ้นไป (73.7%) มีการถ่ายโอนมากกว่ากลุ่มอื่น ระดับการศึกษามีการตัดสินใจที่จะถ่ายโอนไม่แตกต่างกัน ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต. (38.4% ) และพยาบาล (51.8%) มีการถ่ายโอนมากกว่าตำแหน่งอื่น รายได้ มีการถ่ายโอนแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน (70.0%)  สำหรับเงินเดือนเต็มขั้น ในกลุ่มที่มีเงินเดือนเต็มขั้น มีการถ่ายโอนมาก (63.7%) อายุราชการที่ปฏิบัติราชการที่  รพ.สต. ผู้ที่มีอายุราชการมากกว่า 30 ปีขึ้นไป (77.8%) มีการถ่ายโอนมาก

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการโอนย้ายเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) มี อยู่ 2 ปัจจัยได้แก่ เงินเดือนเต็มขั้น โดยมีค่า β =3.843 p-value 0.041 และอีกปัจจัย ได้แก่ ระดับแรงจูงใจในการโอนย้าย โดยมีค่า β =6.199  p-value 0.006  โดยที่ประเด็นที่สำคัญได้แก่ประเด็นการถ่ายโอนทำให้มีโอกาสที่จะได้เงินเดือนที่สูงขึ้น และ ประเด็นถ่ายโอนทำให้หน่วยงานของท่านมีบุคลากรที่เพียงพอ เป็นปัจจัยที่สำคัญ ในการโอนย้าย

ในการโอนย้ายเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทุกกระทรวง ไปสู่ส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรมีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้ง เรื่องความรู้ ทัศนคติ และ แรงจูงในการโอนย้าย มากกว่านี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีการตัดสินใจที่ดี และมีความพร้อมที่จะไปสังกัดหน่วยงานที่จะโอนย้าย ซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จะได้ไม่รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตต่อไป

References

Taro Yamane (1973).Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.

พีรวรรณ ชีวัยยะ (2552) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ที่มีต่อการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้องค์การบริหารส่วนตำบลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

อุทิศ ดวงผาสุก (2554) ความพร้อมของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่องค์การบริหารส่วนตำบล

จังหวัดสมุทรสงคราม รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท

ตุลยวดี หล่อตระกูล (2563) ได้ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563

กาญจนา ตรีรัตน์ (2549). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี งานนิพนธ์การจัดการการมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัย บูรพา.

จีระศักดิ์ สุขแก้ว. (2547). ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการรับถ่ายโอนอำนาจสู่ท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พงษ์ศักดิ์ งามแปง (2552) การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาอำเภอแม่แต้ง จังหวัดเชียงใหม่ ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง

สมยศ แสงมะโน (2556) ศึกษาปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์ สาขานโยบายสาธารณะสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ป.) คู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด สืบค้น 1 มีนาคม 2565, จาก https://odloc.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30