ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • วิชิต ธีรไกรศรี กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี 71000

คำสำคัญ:

การกำเริบเฉียบพลัน, การรักษาในโรงพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการกำเริบเฉียบพลันและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

วิธีการวิจัย: การวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เมษายน 2567 จำนวน 200 ราย เก็บข้อมูลปัจจัยที่อาจมีผลต่อการกำเริบเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ หรือการทดสอบฟิชเชอร์ และวิเคราะห์หลายตัวแปรด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการกำเริบเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน 1 ปี มีจำนวน 33 ราย (ร้อยละ 16.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกำเริบเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ระดับความรุนแรงตามการจัดกลุ่มของ GOLD แรงสูดยาพ่นไม่เพียงพอ ภาวะมลพิษรอบบ้าน และการใช้ออกซิเจนที่บ้าน จากการวิเคราะห์     หลายตัวแปร ภาวะมลพิษรอบบ้านมีความเสี่ยงเป็น 11.37 เท่า (adjusted OR=11.37, 95% CI: 3.47–37.23; p<0.001) และการใช้ออกซิเจนที่บ้านมีความเสี่ยงเป็น 6.34 เท่า (adjusted OR=6.34, 95% CI: 2.38–16.88; p<0.001)

สรุปผล: ความชุกของการกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เท่ากับร้อยละ 16.5 โดยปัจจัยที่มีผลกับการกำเริบเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะมลพิษรอบบ้านและการใช้ออกซิเจนที่บ้าน

References

Halpin DMG, Celli BR, Criner GJ, Frith P, López Varela MV, Salvi S, et al. The GOLD Summit on chronic obstructive pulmonary disease in low- and middle-income countries. Int J Tuberc Lung Dis. 2019;23(11):1131-41.

Saeid S, Kristin C-C, Maryam N, Seyed Aria N, Mark JMS, Javad Ahmadian H, et al. Burden of chronic obstructive pulmonary disease and its attributable risk factors in 204 countries and territories, 1990-2019: results from the Global Burden of Disease Study 2019. BMJ. 2022;378:e069679.

Mathers CD, Loncar D. Projections of global mortality and burden of disease from 2002 to 2030. PLoS medicine. 2006;3(11):e442.

Kessler R, Partridge MR, Miravitlles M, Cazzola M, Vogelmeier C, Leynaud D, et al. Symptom variability in patients with severe COPD: a pan-European cross-sectional study. Eur Respir J. 2011;37(2):264-72.

Elliott MW, Adams L, Cockcroft A, MacRae KD, Murphy K, Guz A. The language of breathlessness. Use of verbal descriptors by patients with cardiopulmonary disease. Am Rev Respir Dis. 1991;144(4):826-32.

Laviolette L, Laveneziana P. Dyspnoea: a multidimensional and multidisciplinary approach. Eur Respir J. 2014;43(6):1750-62.

Cho SH, Lin HC, Ghoshal AG, Bin Abdul Muttalif AR, Thanaviratananich S, Bagga S, et al. respiratory disease in the Asia-Pacific region: Cough as a key symptom. Allergy Asthma Proc. 2016;37(2):131-40.

Goërtz YMJ, Looijmans M, Prins JB, Janssen DJA, Thong MSY, Peters JB, et al. Fatigue in patients with chronic obstructive pulmonary disease: protocol of the Dutch multicentre, longitudinal, observational FAntasTIGUE study. BMJ Open. 2018;8(4):e021745.

Dransfield MT, Kunisaki KM, Strand MJ, Anzueto A, Bhatt SP, Bowler RP, et al. Acute Exacerbations and Lung Function Loss in Smokers with and without Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Am J Respir Crit Care Med. 2017;195(3):324-30.

Hoogendoorn M, Feenstra TL, Hoogenveen RT, Al M, Mölken MR. Association between lung function and exacerbation frequency in patients with COPD. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2010;5:435-44.

Wedzicha JA, Seemungal TA. COPD exacerbations: defining their cause and prevention. Lancet. 2007;370(9589):786-96.

Hewitt R, Farne H, Ritchie A, Luke E, Johnston SL, Mallia P. The role of viral infections in exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease and asthma. Ther Adv Respir Dis. 2016;10(2):158-74.

Fan X, Dong T, Yan K, Ci X, Peng L. PM 2.5 increases susceptibility to acute exacerbation of COPD via NOX4/Nrf2 redox imbalance-mediated mitophagy. Redox Biol. 2023;59:102587.

MacLeod M, Papi A, Contoli M, Beghé B, Celli BR, Wedzicha JA, et al. Chronic obstructive pulmonary disease exacerbation fundamentals: Diagnosis, treatment, prevention and disease impact. Respirology. 2021;26(6):532-51.

Hogea SP, Tudorache E, Fildan AP, Fira-Mladinescu O, Marc M, Oancea C. Risk factors of chronic obstructive pulmonary disease exacerbations. Clin Respir J. 2020;14(3):183-97.

ชมขวัญ แก้วพลงาม, ณัฐวดี อินทเเสน, ภานุพงษ์ อุ่นเรือนงาม, ปาริชาติ นิยมทอง. ปัจจัยพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2565;30(1):99-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

1.
ธีรไกรศรี ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. Phahol Hosp J [อินเทอร์เน็ต]. 4 เมษายน 2025 [อ้างถึง 21 เมษายน 2025];13(1):57-69. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1956