ผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
การจัดการรายกรณี, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุบทคัดย่อ
การจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณี ต่อพฤติกรรมสุขภาพ ระดับความดันโลหิตและค่าดัชนีมวลกาย ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ มีระดับความดันโลหิต ≥ 160/100 มิลลิเมตรปรอท รับการตรวจรักษาที่แผนกอายุรกรรมงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านโป่ง จำนวน 30 ราย ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 – เมษายน 2567 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) การดูแลผู้ป่วยแบบการจัดการรายกรณีประกอบด้วย การประเมินสภาพผู้ป่วย การให้ความรู้ การพบทีมสหสาขาวิชาชีพ การส่งต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อการดูแลต่อเนื่อง และการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ 2) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการศึกษาพบว่าหลังการเข้าร่วมการจัดการรายกรณี กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการจัดการรายกรณี ( = 3.29, SD = 0.42) มีระดับความดันโลหิตซีสโตลิคและไดแอสโตลิคลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ค่าดัชนีมวลกายมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)
Downloads
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรคแนะประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=34117&deptcode=brc.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. (ฉบับปรับปรุง) [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http.//www.thaihypertension.org/guideline.html.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. รู้ตัวเลขรู้ความเสี่ยงสุขภาพ [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1064820201022081932.pdf.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. อ้วนลงพุงกับความดันโลหิตสูง [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th.
โรงพยาบาลบ้านโป่ง. รายงานสถิติผู้ป่วยความดันโลหิตสูงประจำปี 2566. ราชบุรี: งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2566.
โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วาระการประชุมเรื่องปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมโรคไม่ดี งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 26 ตุลาคม 2566; ราชบุรี: งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2566.
Meisler N, Midyette P. CNS to case manager: Broadening the scope: Nur Manage 1994;25(11): 44-6.
Mullahy CM. The case manager’ s handbook. 5 th ed. MA: Jones and Bartlett Learning; 2014.
Soon-Nyoung Y. Effectiveness of community- based case management for patients with hypertension. Journal of Korean Academy of Community Health Nursing 2014;25(3):159-69.
ตติยา แดงทิม, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเรื้อรังในสถานบริการระดับปฐมภูมิ. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;14(2):114-126.
Powell SK, Tahan HA. Case management a practical guide for education and practice. 3rd ed. Philadephia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams and Wilkins; 2010.
Cohen J. Statistical power analysis for behavioural sciences. 2nd ed. Hilsdale, NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.
Best W. Research in Education. 4 th ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice.Hall Inc; 1981.
สมคิด สุภาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(5):857-64.
กมลธร วัสสา, วิพร เสนารักษ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวในผู้ที่มีภาวะ prehypertension. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33(4):65-73.
Felix G. Clinical affect of lifestyle modification on cardiovascular risk in prehypertensives: PREHIPER: Study, Revista Espanola de Cardiologia 2009; 62(1):86-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว