The การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาล ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สมพร สีดาอ่อน

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (research and development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 270 คน 2) พัฒนารูปแบบต้องการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน และ3) การทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีหยิบฉลากแบบไม่คืน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 1.06, SD=0.09)  และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}= 2.12, SD=0.10) รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย (1) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรู้เท่าทันสื่อ การเข้าถึงข้อมูล และ(2) การฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเอง และ3) ผลการใช้รูปแบบพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล ค่าเฉลี่ยในภาพรวมดีกว่าก่อนใช้รูปแบบ ( gif.latex?\bar{X}= 2.10และ 2.27) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

International Diabetes Federation. Diabetes. International diabetes federation. 2020.

สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิตย์ นิรมิตมหาปัญญา, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, วีระศักดิ์ ศรินนภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล, สิทธิชัย อาชายินดี. โรคเบาหวาน [อินเทอร์เนต]. 2014. สืบค้นจากhttp://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/ 962/59b9e79625bf7359335246.pdf.

รัชดา เครสซี่. โรคเบาหวานความรู้พื้นฐาน และการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแล รักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด; 2558.

อรพินท์ สีขาว. ภาวะแทรกซ้อนอย่างเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2558.

De Castro SH, Brito GN, Gomes MB. Health literacy skills in type II diabetes mellitus outpatients from an university-affiliated hospital in Rio de Janeiro, Brazil. Diabetology & metabolic syndrome 2014; 6(1):126.

Rootman I, Ronson B. Literacy and health research in Canada: where have we been and where should we go? Canadian Journal of Public Health/Revue Canadienne de Sante'e Publique 2005:62-77.

Jovic-Vranes A, Bjegovic-Mikanovic V, Marinkovic J. Functional health literacy among primary health-care patients: data from the Belgrade pilot study. Journal of Public Health 2009;31(4):490-495.

Quartuccio M, Simonsick EM, Langan S, Harris T, Sudore RL, Thorpe R, Kalyani RR. The relationship of health literacy to diabetes status differs by sex in older adults. Journal of diabetes and its complications 2017.

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน [อินเทอร์เนต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จากhttp://www.mfa.go.th/dvifa/contents/filemanager/files /nbt/nbt5/IS/IS5073.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559 ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เนต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/informationstatistic/non-communicable-disease-data.php.

World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion Definition, Concepts and Example in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promoting Health and Development. Nairobi: Kenya. 2009.

พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา และ สุจิตรา สุคนธทรัพย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2560;46(2):68-79

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ¬สถิติสาธารณสุข [อินเทอร์เนต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จากhttp://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/health_statistics2557.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2562. [อินเทอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565]เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/document/file/ download/papermanual/ReportAnnualDNCD62.pdf

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง. รายงานผู้ป่วยเบาหวานประจำปี 2562-2564. โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย (Hos xp PCU); 2564.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008;67(12):2072-2078.

สมฤทัย เพชรประยูร. อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.การเสริมสร้างและประเมิน ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง ปี 2561. [อินเทอร์เนต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก http://www.hed.go.th/linked/file/575.

Lincoln YS, Guba EG. Qualitative Research Guidelines Project [Internet]. 1985 [cited 2022 May 11] Available from http://www.qualres.org/HomeTria-3692.html

พลอยประกาย ฉลาดล้น, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม, วิภา กลิ่นจำปา. การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช; 2566.

ยวิษฐา สุขวาสนะ, อรพินท์ สีขาว, ทวีศักดิ์ กสิผล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสวนบุคคล ความรอบรูดานสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองกับการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564;11(1): 52-65.

โสภิต แสงทอง. ปัจจัยที่มีผลตอการสงเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปยโรคเบาหวานกรณีศึกษา โรงพยาบาลกระบี่. [วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2556.

พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3): 91-106

บุญญธิดา ยาอินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2564;18(1): 35-48.

Protheroe J, Rowlands G, Bartlam B, Levin- Zamir D. Health Literacy, Diabetes Prevention, and Self-Management. [Internet] 2017[cited 2023 April 3] Available from https://doi.org/10.1155/2017/ 1298315

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-22