ผลของโปรแกรมโยคะเพื่อสุขภาพต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุในตำบลหนองแสง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร จันใด -
  • รสสุคนธิ์ ผาสุข
  • พิมพ์ชนก ลำดับจุด
  • นภัสสร อรัญสุด
  • ฐานิตา อาทะวิมล
  • ธัญนาฏ โกษาแสง
  • นุชนภา ฮาดทักษ์วงค์
  • ร่มฟ้า นามวงค์
  • กุลชิตา บุญเลิศ
  • จุฑามาศ พึ่งกุศล
  • น้ำฝน เชิดสะภู
  • ธงชัย อามาตยบัณฑิต

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การทรงตัว, ออกกำลังกายด้วยโยคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมโปรเเกรมโยคะต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุในตำบลหนองแสง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประชากรได้แก่ ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป ในตำบลหนองแสง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 596 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้สูงอายุจำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างมีระบบ (systematic random sampling)  โปรแกรมการฝึกโยคะพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยมีทั้งหมด 14 ท่า และการทดสอบการทรงตัว (Timed Up and Go Test) และแบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทดลองลดลงเฉลี่ย 8.82 วินาที โดยระยะเวลาทดสอบการเดินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (-0.79, 95% CI= -1.40 ถึง -0.180, p-value<0.01) ผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ความง่ายต่อการนำไปปฏิบัติและการได้ประโยชน์โดยรวมร้อยละ 95

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

สมประวิณ มันประเสริฐ. การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีต่อแบบแผนการบริโภคของครัวเรือนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2553.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: พริ้นเทอรี่; 2563.

Dhargave, P. & Sendhilkumar, R. Prevalence of risk factors for falls among elderly people living in long-term care homes. J Clin Gerontol Geriatr. 2016;1–5.

Li, I.F., Hsiung, Y., Hsing, H.F., Lee, M.Y., Chang, T.H. & Huang, M.Y. Int J Gerontol. 2016;10(3):137–41.

ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, พรรณวรดา สุวัน, จุฑารัตน์ เสาวพันธุ์ กชนิภา ขวาวงษ์, ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุลและวิยะดา ทิพม่อม. การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธา. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(1):1–5.

สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, พัชรินทร์ พุทธรักษา, สุพิน สาริกาและวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภออัมพวา. วารสารการพยาบาล. 2560;39(2):2–62.

Chow, S-C., Shao, J., Wang, H., Lokhnygina, Y. Sample Size Calculations in Clinical Research. 3rd ed. New York: Chapman and Hall/CRC; 2017.

จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(38):154–60.

นรารักษ์ ไท ยประเสริฐ. ผลการฝึกโยคะและฝึกเดินบนตารางเก้าช่องที่มีต่อการทรงตัว ความแข็งแรง การกลัวการล้ม และคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกาลังกาย]. นครนายก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562.

ธิติพงษ์ สุขดี และศิริวรรณ สุขดี. ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่มีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2558;1(2):1–10.

กนิษฐ์ โง้วศิริและกันยา นภาพงษ์. ผลของการออกกำลังกายดัวยฤาษีดัดตนประยุกต์ต่อการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2564;22(1):176–85.

บุษกร คุ้มเกษ. ผลของการรำมวยไไทชิ (Tai Chi Chun) ในการเพิ่มประสิทะฺภาพการทรงตัวในผู้สูงอายุไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2550;17(3):73–8.

ชฎาพร คงเพ็ชร์. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล. 2562;68(4):64–71.

Tihanyi, B., Boor, P. & Emanuelen, L. Mediators between Yoga Practice and Psychological Well-Being: Mindfulness, Body Awareness, and Satisfaction with Body Image. Eur J Ment Health. 2016;11(01–02):112–27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-22