ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เก็บข้อมูลจาก อสม. จำนวน 13 ตำบล ในเขตความรับผิดชอบของอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามด้านความรู้ และพฤติกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 และ.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ (χ2 = 10.098, P = 0.039) อาชีพ (χ2 = 19.155, P = 0.001) ระดับการศึกษา (χ2 = 9.576, P = 0.048) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (χ2 = 13.947, P = 0.007) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Downloads
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดการโรคติดต่อนำ โดยแมลง พ.ศ.2566-2575. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน; 2565.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. กรุงเทพ ฯ: กระทรวง; 2556.
หน่วยระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม, [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://datariskcom-ddc.moph.go.th/
วิภาวดี วุฒิเดช. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3216/3/61062113.pdf
Krejcie & morgan. educational and psychological measurement, determining sample size for research activities. A. & m. University; 1970.
Bloom, Benjamin S, et al. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.
ลักษณา ชื่นบาน, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ว. วิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;21(3):218-29.
สถาพร วรเจริญ, สุพัฒน์ กองศรีมา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bitly.ws/34h6x
สุรพล สิริปิยานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. ว. วิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2563;4(8):85-103.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ปัทมา รักเกื้อ. ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;21(1):31-9.
สุจิตรา สุคนธมัต, ณัฐวดี จันคำ, ภัทรวริน สามารถ, สุกัญญา แซ่หลิม. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในหมู่บ้านบ่อดินสอพอง ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 ประจำปี 2563; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 2563. หน้า 775-90.
อนุรักษ์ เบื้องสูง. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ว. อนามัยสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพชุมชน 2562;4(2);33-40.
แพรวพรรณ จันต๊ะนาเขต และสุทธิชัย ศิรินวล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย [วิทยานพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2565.
ธนันญา เส้งคุ่ย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.
วีระ กองสนั่น และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563;1(3);39-43
วินัย พันอ้วน, จิติมา กตัญญู, วันทนีย์ ชวพงษ์. ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. [วิทยานพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2560.
สุทธี พลรักษา. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. ว. สภาการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(1);101-12.
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, กนกวรรณ พรหมทอง, มนตรี รักภักดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย. ว. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2564;40(5);71-84.
ไกรศิลป์ ศิริวิบูรณ์, ศิริรัตน์ กัญจา. การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. ว. โรงพยาบาลแพร่ 2564;29(1);129-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว