ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ ต่อความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การคัดแยกผู้ป่วย, กลุ่มโรคสำคัญ, ความรู้, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญต่อความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 32 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67–1.00 และความเชื่อมั่นโดยวิธีของลิฟวิงสตันด้านความรู้ เท่ากับ .60 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญของพยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ประกอบด้วย 1) การบรรยายประกอบสื่อ 2) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การคัดแยกประเภทผู้ป่วย และ 3) การคัดแยกผู้ป่วย พยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05
Downloads
References
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย. ว. ศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(36):160-78.
รายงานผลตัวชี้วัด QA ประจำปี. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19. กลุ่มงานการพยาบาล; 2565. (เอกสารไม่ตีพิมพ์)
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานพยาบาล Healthcare Risk Management System (HRMS) [อินเตอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: sd19.thai-nrls.org
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). Patient safety Goals:SIMPLE Thailand 2018. นนทบุรี; 2561.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ Hospital and Healthcare Standards ฉบับที่ 5. นนทบุรี; 2564.
ชนนิกานต์ จารุพฤฒิพงศ์, ตรึงตา พูลผลอำนวยและอำพัน รุจนสุธี. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2564
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. รู้อาการ รักษาทัน ภาวะกล้ามเนื้อขาดเลือดเฉียบพลัน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราช; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/ article/share/acute-coronary-syndrome
อังคณา เกียรติมานะโรจน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. ว. วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564; 5:27-43.
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลด้านศัลยกรรม LINICALPRACTICE GUILDLINES IN SURGERY สาขา: ประสาทศัลยศาสตร์. บาดเจ็บที่ศีรษะ. [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rcst.or.th/
เสาวรส จันทมาศ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. ว. พยาบาลสงขลานครินทร์ 2565; 42:25-39.
Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.
Bendura, A. Social Learning Theory. New Jersy: Englewood Cliffs; 1997.
Bandura. A. Social foundations of thought and action: A Social Cognitive Theory; New Jersey: Prentice-Hall Inc., Englewood Cliffs; 1986.
วิปัศยา คุ้มสพุรรณ, บุญพิชชา จิตต์ภักดี, กุลวดี อภิชาตบุตร. การพัฒนากรอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565;49:138-47.
พรรณพิมล สุขวงษ์, ปาณิสรา หลีค้วน, ทชา จงศิริฉัยกุล, พัชรินทร์ ไชยบาล. รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน. ว. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29:58-68.
เสาวรส จันทมาศ, กัญจนา ปุกคำ, สุมาลี พลจรัส, ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. ว. พยาบาลสงขลานครินทร์ 2565;42:25-39.
กัลยารัตน์ หล้าธรรม, ชัจคเณค์ แพรขาว. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ; 10 มีนาคม 2560; มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิชชานันท์ สงวนสุข,ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผุ้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health [อินเตอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566]; 9(2):122-135. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/scnet/index
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว