ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้และพฤติกรรมการวางแผนจำหน่ายของพยาบาล โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • โสภิต ใจอารีย์ -

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การวางแผนจําหน่าย, โรคหลอดเลือดสมอง, ความรู้, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

        การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาล 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการวางแผนจำหน่ายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลหลังเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 35 คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน ถึงตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาล แบบประเมินพฤติกรรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และความพึงพอใจของพยาบาลหลังเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาล เครื่องมือการวิจัย มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้ เท่ากับ .83 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคด้านพฤติกรรม .94 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคทั้งฉบับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

        ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และและพฤติกรรมการวางแผนจำหน่ายสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.48, SD = 0.56)

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Stroke Organization. Learn about stroke [Internet]. [cited 2022 May 16]. Available from: htpps://www.world-stroke.org/world-stroke-day-cam-paign/why-stroke-matters/learn-about-stroke.

สมศักดิ์ เทียมเท่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. ว. ประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564;37(3):54-60.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานประจำปี [อินเตอร์เนต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 พฤษภ่าคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

ระบบฐานข้อมูลศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน. [อินเตอร์เนต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 พฤษภ่าคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/drive/u/0/my-drive.Planchaokhun.

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine 2008; 67(12): 2072-8.

ธัญพิมล เกณสาคูและคณะ. ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน. ว. วารสารพยาบาลทหารบก กรุงเทพ 2563;21(3):215-24.

วรลักษณ์ เต็มรัตน์. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ยะลาโดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง [อินเตอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 พฤษภ่าคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/18094/1/ 6210420037.pdf

ยุพาพร หัตถโชติ. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ความสามารถในกากิจกรรมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลอุดร. ว. วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคราม 2562;4 (7):136-42.

วาสนา กัณหา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผนจำหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. [อินเตอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 พฤษภ่าคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/49Q0K32

อวยพร จงสกุล. รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. ว. แพทย์เขต 4-5 2563;39(3):454-71.

อภันตรี กองทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. ว. การพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข 2565;1(3):1-17.

คนึงนิจ ศรีษะโคตร และคณะ. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ว. สภาการพยาบาล 2565;37(3): 20-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27