การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ เรืองอร่าม โรงพยาบาลบ้านลาด

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว, ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

         การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดูแล ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแล ปัญหาอุปสรรคและความต้องการความช่วยเหลือ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจำนวน 155 คน อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบสัมภาษณ์ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการสนทนากลุ่มอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80, .91, .86, .93 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

        ผลการวิจัย พบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านมีความสามารถในการดูแลในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.00 (gif.latex?\bar{X}= 91.30, SD = 18.65) ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และการเยี่ยมเสริมพลังจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยสามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 56.10 ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ส่วนใหญ่มีปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัด ในการดูแลที่เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ส่วนอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นมีความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุได้พอสมควร และสามารถสนับสนุนให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านสามารถดูแลผู้สูงอายุได้มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. การดูแลผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/741.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ประจำปีงบประมาณ 2564 รอบที่ 1. เอกสารอัดสำเนา; 2564.

ภัทราวดี มากมี. การออกแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยแบบผสานวิธี Research Design for Mixed Method Research. ว. สมาคมนักวิจัย 2559;21(2):19-31.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill Book; 1976.

อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อัจศราประเสิฐสิน; 2563.

Best JW. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1986.

Cronbach LJ. Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich; 1977.

บุญชัช เมฆแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20). พังงา: วิทยาลัยชุมชนพังงา; 2562.

Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research: multiple strategies. Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 1992.

ศากุล ช่างไม้. การสนับสนุนความต้องการการดูแลที่เป็นญาติ. ว. มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2559;22(3):425-35.

ศิราณี ศรีหาภาค. สถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. ว. ศูนย์อนามัยที่ 9 2563;15(32):44-62.

นิชนันท์ สุวรรณกูฏ. ปัจจัยทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564;23(2):71-84.

วรินทร์ลดา จันทวีเมือง. พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่ (New Normal) ของสมาชิกครอบครัวในชุมชนที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล เขตเทศบาลนครสงขลา. ว. วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2564;16(1):137-53.

ณิชชารีย์ พิริยจรัสชัย และศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยทำนายความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. ว. พยาบาลทหารบก 2561;19(5):231-40.

Gibson CH. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. J Advanced Nursing 1995;21(6):1201-10.

สายใจ จารุจิตร. รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2562; 30(1);54-68.

นัทธมน หรี่อินทร์. ผลการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กระบวนการ care management อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. ว. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563;3(1):55-69.

ประภาพร เมืองแก้ว. รูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในเขตพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564;13(2):30-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27