ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สุนันทินี หอมเลย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, ภาวะผู้นำ, การมีส่วนร่วม, การได้รับพลังอำนาจและแรงจูงใจในการทำงาน, การศึกษาและการฝึกอบรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  ในจังหวัดเพชรบุรี  และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค  แนวทางแก้ไขปัญหา      ในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จำนวน 361 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และผลที่ได้รับจากการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง จำแนกกลุ่มตัวแปร  ด้วยเทคนิค factor analysis และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ    ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ  รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการได้รับพลังอำนาจและแรงจูงใจในการทำงาน และการศึกษาและฝึกอบรม ตามลำดับ  โดยสามารถร่วมกันทำนายผลของการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้ ร้อยละ 50.20 และพบว่า ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพ  มากที่สุดคือ บุคลากรไม่เพียงพอ  รองลงมาคือ ภาระงานมาก ขาดขวัญกำลังใจ  ขาดความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ และขาดแคลนงบประมาณและอุปกรณ์ ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาและรับรองคุณภาพ โดยเสนอแนะให้เพิ่มอัตรากำลังมากที่สุด รองลงมาคือ เพิ่มองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ ตามลำดับ

References

สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). [อินเตอร์เน็ต]. [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) [อินเตอร์เน็ต]. [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.ha.or.th/TH/Downloads/ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงาน ?pageNumber=2

. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี : บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด; 2561.

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี.(2565) สรุปผลการ ปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดประจำปี 2565. (เอกสารอัดสำเนา). 2565

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. เอกสารสรุปผลงานตามแผนการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565.(เอกสารอัดสำเนา). 2565.

Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row. 1973.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบัน รับรองคุณภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยระบบสาธารณสุข. 2542.

ราตรี ฉิมฉลอง. การพัฒนาคุณภาพการการพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ผ่านการรับรอง คุณภาพโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์การบริหารทางการพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก hesis.grad.chula.ac.th/readfile1.php?fn=ab4877592836.doc.

ธนพร มาสมบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาล รามาธิบดี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [อินเตอร์เน็ต]. [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก thesis.swu.ac.th/swuthesis/Pub_Pol/Tanaporn_M.pdf.

ธีรวิทย์ ตั้งจิตไพศาล. การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล: กรณีศึกษาสถาบันบำราศนราดูร. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [อินเตอร์เน็ต]. [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=326675.

ศรีนวล ศิริคะรินทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25