ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกด้วยแนวคิดความรอบรู้ ด้านสุขภาพต่อทัศนคติและการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยง ของพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19
คำสำคัญ:
การจัดการความเสี่ยง , ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , ทัศนคติ, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกด้วยแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อทัศนคติและการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) ความพึงพอใจของพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกด้วยความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 46 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทัศนคติและโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกด้วยแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67–1.0 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ด้านทัศนคติเท่ากับ .82 ด้านการรับรู้ความสามารถในตนเองเท่ากับ .90 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่าพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกด้วยแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้พยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกด้วยแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความพึงพอใจภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.33, SD=.64)
Downloads
References
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สภาการพยาบาล. (อัดสำเนา).
สุมลรัตน์ พงษ์ขวัญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2560; 33(1) :130-140.
รายงานอุบัติการณ์/ความเสี่ยง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ประจำปี 2565.
Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67(12): 2072-2078.
สุนันทินี ศรีประจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากร ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2562, 11(2). 1-18.
Gazzotti, F. Health Literacy in Italy’s Emilia Romagna Region. Retrieved October 11, 2020 from https://www.nap.edu/read/18325/chapter 5. 2012.
Levin-Zamir, D. Health Literacy in Israel: Policy, action, research and beyond. Presentation at the Institute of Medicine Workshop on Health Literacy: Improving Health, Health systems, and Health Policy Around the World, New York October 11, 2020 from https://www.nap.edu/read/18325/chapter 6. 2012.
Ferrer, R.A. & Mendes, W.B. Emotion, health decision making, and health behavior. Psychology & Health. 2017, 33(1). 1-16.
Muscat, D.M.; Morony, S.,Trevena, L., Hayen, A., Shepherd, H.L., et al. Skills for shared decision-making: evaluation of a Health Literacy program for consumers with lower literacy levels. HLRP: Health Literacy Research and Practice; 3(3), S58-S74.
Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company. 1997.
ภาสิต ศิริเทศ และ ณพวิทย์ ธรรมสีหา. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20 (2): 58 – 65.
กานตรัตน์ รุ่งเรือง และพรรณี ทองดีเลิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรายงาน อุบัติการณ์ความเสี่ยงในระบบ HRMS on Cloud ของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19. 2564.
ชวภณ สารข้าวคา. การพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตโดยการประยุกต์ใช้การสังเคราะห์งานวิจัยแบบผสานวิธีและ การวิจัยอิงการออกแบบ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .2562.
Wilson J. & Tingle J. Clinical risk modification: A route to clinical governance, Oxford: Butterworth-Heinemann. 1999.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน.ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2539.
เยาวลักษณ์ ประดิษฐ์ทวีสุข, แสงแข บุญศิริ. ทัศนคติในการจัดการความเสี่ยงองค์กรของ ผู้ปฏิบัติงานในภาคธุรกิจ การบิน หลังสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2564; 24(2): 271-284.
McCleary J.V., et al. Health information technology use and health literacy among community dwellings. African Americans. ABNF J. 2013; 24(1): 10-16.
ศิริลักษณ์ ฤทธิไธสง. การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ในบริบทของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2560; 3(1): 77-87.
ณฐมน พันธุมจินดา. ประสิทธิผลการพฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยมหิดล บัณฑิตวทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2558.
เมธิณี เกตวาธิมาตร, นัยนา ภูลม, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, ชิดชนก พันธ์ป้อม. การพัฒนารูปแบบการ ส่งเสริมสมรรถนะในการบริหารความเสี่ยง และความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2559. 9(4): 74-89.
กนกพร ยอดยศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ณรงค์ชัย สังซา. การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยง และการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยง ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสาร วิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562; 5(2): 27-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว