ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปภาพสวีร์ เจริญพัฒนาภัค โรงพยาบาลสามพราน

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล คุณภาพชีวิตการทำงาน และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 150 คน คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล คุณภาพชีวิตการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันต่อองค์กร หาค่าความเชื่อมั่นได้ .94, .98, .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 41.43 ปี ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเฉลี่ย 16.27 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนใหญ่มากกว่า 40, 000 บาทขึ้นไป ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทางการพยาบาล และความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูง (=3.54, SD=0.55, =3.70, SD=0.66 และ =3.42, SD= 0.67) ตามลำดับ เมื่อหาค่าความสัมพันธ์ พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.72, p<.01) รองลงมา คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.66, p<.01) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและอายุก็มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.34, p<.01 และ r=0.33, p<.01) ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร ในระดับต่ำที่สุด (r=0.24, p<.01) คุณภาพชีวิตการทำงาน อายุ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม ได้ร้อยละ 60.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.60, p<.001)

References

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. กำลังคน (ภาครัฐ) ในศตวรรษที่ 21 (Workforce in the 21th). วารสารข้าราชการ. 2563; 62(2): 1-33. Available from: www.OCSC.go.th

กิติกร วิชันเรืองธรรม, พิสมัย จารุกิตติพันธ์, และเกียรติชัย วีระญาณนนท์. การบริหารทรัพยากร มนุษย์ขององค์กรสุขภาพในยุคศตวรรษที่ 21. หัวหินเวชสาร. 2564; 6(2): 1-18.

Anuroj K. Leadership: tips for successful sustainable development. Royal Thai Air force medical gazette. 2014; 60(3): 53-6.

ทัศนา บุญทอง และสมจิต หนุเจริญกุล. กลยุทธ์การพัฒนาและธำรงรักษาพยาบาลไว้ในวิชาชีพ. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2559; 3(2): 15-24.

นพวรรณ ใจคง, จินดาวรรณ ธรรมปรีชา, ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค, และ ธนวัฒน์ พิมลจินดา. นโยบาย การบริหารกับการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 2563; 18(2): 241-259.

Shaffer FA, Curtin L. Nurse turnover: understand it, reduce it. what can employers do to Increase nurse retention?. American nurse journal. 2020; 15(8): 57-9. Available from:https://www.myamericannurse.com/wp-content/uploads/2020/08/an8-Turnover- 728.

Allen and Meyer (1990) อ้างถึงใน บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการ องค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

Walton (1973) อ้างถึงใน อนวัช ลิ่มวรากร. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความ ผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลรัฐบาล 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน [สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

กองเพชร อิ่มใจ. คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562; 2(2): 30-45.

กชณิชา ถิ่นถลาง. คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพใน โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2564; 35(1): 1-13.

ดวงสมร มะโนวรรณ. คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลที่สังกัด โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และได้รับรองสถานพยาบาลของ JCI. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. 2561; 7(1): 178-190.

Phothiwan N, Santayakorn C. The influence of quality of working life on organizational commitment of nurses in general hospital, regional health 3. Journal of nursing and health sciences. 2018; 12(2): 25-35.

Bass and Avolio (1994) อ้างถึงใน ชญาภา วงศ์หมัดทอง. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผล กระทบต่อความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานกรณีศึกษาบุคลากร โรงพยาบาลสงขลา [สารนิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

พลกฤต รักจุล, ประภัสร วรรณสถิต, กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ, และชัยวัฒน์ ใบไม้. ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง ความผูกพัน และความตั้งใจที่จะคงอยู่ของพนักงาน: ทบทวนวรรณกรรม. วารสาร สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2563; 5(12): 15-29.

อัญชรี เข็มเพชร, ลัดดาวัลย์ แดงเถิน.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้า หอผู้ป่วยกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์เขตสุขภาพที่ 2.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561; 12(2): 1-11.

บุญชนะ เมฆโต. อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อความผูกพันองค์การ และการตั้งใจ ลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง. HROD JOURNAL. 2560; 9(1): 36-59.

วิไลลักษณ์ กุศล, สมพันธ์ หีญชีระนันทน์ม และกรรณิการ์ สุวรรณโคต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ ผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2559; 22(29): 377-88.

Steer (1997) อ้างถึงใน อนวัช ลิ่มวรากร. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความ ผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลรัฐบาล 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน [สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

นงค์ลักษณ์ คนหลวง. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดอย สะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2563; 11(2): 145-166.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. ข้อมูลสถิติบุคลากรของหน่วยงานใน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. 2565.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ : แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้ง ที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561. 22. วิไลวรรณ จันทร์เมือง และประพันธ์ ชัยกิจอุรา. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์. 2562; 30(3): 165-181.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25