การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รายงาน 506 ) โรคสครับไทฟัส ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ประภาพรรณ มีธรรม ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.2 จังหวัดมุกดาหาร
  • ปภานิจ สวงโท กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ธนพร ตู้ทอง กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
  • ศันสนีย์ โรจนพนัส กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
  • ปิยะพร หวังรุ่งทรัพย์ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
  • ดารินทร์ อารีย์โชคชัย สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคสครับไทฟัส, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

โรคสครับไทฟัส เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง แพทย์ส่วนใหญ่วินิจฉัยโรคจากอาการซึ่งมีความคล้ายกับหลายโรค และจากสถานการณ์พบว่ามีจำนวนป่วยมากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบขั้นตอนการรายงาน และคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคสครับไทฟัส โดยเลือกโรงพยาบาลในจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดและต่ำสุดของประเทศไทย ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ศรีสะเกษ สกลนคร สุโขทัย นครปฐม สุราษฎร์ธานี และสตูล รวม 8 แห่ง ด้วยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562 มีอาการและอาการแสดงเข้าได้ตามนิยามโรคสครับไทฟัส เปรียบเทียบกับข้อมูลของผู้ป่วยในระบบรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา 506 (รง.506) ในช่วงเวลาเดียวกัน และดำเนินการสัมภาษณ์แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ รง.506 ผลและวิจารณ์ผลการประเมิน พบว่าค่าความไวของการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ มีผู้ป่วยในที่มีการเปลี่ยนการวินิจฉัยแต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบรายงาน ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ความทันเวลาของการรายงานโรคใน รง.506 พบว่าอยู่ในเกณฑ์สูง คุณภาพของข้อมูลด้านความครบถ้วนและความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์สูง การรายงานโรคที่อยู่ในระบบ รง.506 และในเวชระเบียนมีความสอดคล้องกัน จึงสามารถใช้เป็นตัวแทนได้ สำหรับการประเมินเชิงคุณภาพ พบว่าบุคลากรมีการยอมรับว่าโรคสครับไทฟัสเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและต้องรายงานในระบบ รง.506 ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่ทราบถึงนิยามเฝ้าระวังโรค และระบบดังกล่าวมีความยืดหยุ่นและใช้งานง่าย แต่อาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องรอผลสรุปเวชระเบียนของแพทย์ บุคลากรสามารถบันทึกข้อมูลแทนกันได้ มีการนำข้อมูลจากการเฝ้าระวังมาใช้เฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรค ควรปรับนิยามผู้ป่วยให้ครอบคลุมผลการตรวจด้วยชุด ทดสอบเร็ว และกำหนดให้รายงานผู้ป่วยทั้งที่ถูกวินิจฉัยในโรคหลักและโรคร่วม เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลและมีความไวเพิ่มขึ้น

References

Bonell A, Lubell Y, Newton PN, Crump JA, Paris DH. Estimating the burden of scrub typhus: A systematic review. PLoS Negl Trop Dis 2017;11(9):1–17.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) แนวทางการป้องกันควบคุม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2551.

Thipmontree W, Tantibhedhyangkul W, Silpasakorn S, Wongsawat E, Waywa D, Suputtamongkol Y. Scrub typhus in northeastern Thailand: Eschar distribution, abnormal electrocardiographic findings, and predictors of fatal outcome. Am J Trop Med Hyg 2016;95(4):769–73.

Xu G, Walker DH, Jupiter D, Melby PC, Arcari CM. A review of the global epidemiology of Scrub typhus. PLoS Negl Trop Dis 2017;11(11):1–27.

Ruang-areerate T, Jeamwattanalert P, Rodkvamtook W, Richards AL, Sunyakumthorn P, Gaywee J. Genotype diversity and distribution of Orientia tsutsugamushi causing scrub typhus in Thailand. J Clin Microbiol 2011;49(7):2584–9.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 สครับไทฟัส [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th

Manosroi J, Chutipongvivate S, Auwanit W, Manosroi A. Early diagnosis of scrub typhus in Thailand from clinical specimens by nested polymerase chain reaction. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2003;34(4):831–8.

Koh GCKW, Maude RJ, Paris DH, Newton PN, Blacksell SD. Review: Diagnosis of scrub typhus. Am J Trop Med Hyg. 2010;82(3):368–70.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตราย และโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 มี.ค. 2563]. 93–5. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2544.

จิตติกร ผลแก้ว, จีระศักดิ์ กรมาทิตย์สุข. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคสครับไทฟัส ในโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2559 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2559;49(36).561-71.

Prajapati SM, Kaushal K, Tiwari S, Shewale A, Nale T, Dikid T. Evaluation of Scrub Typhus Surveillance, Alwar District, Rajasthan, India, July-August 2020. Indian J Community Med. 2023;48(1):177-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2024