ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ขับรถขนส่งสินค้าชาวไทยและเมียนมา ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เพรียวภูรินทร์ มะโนเพียว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • ณัฐวัชร์ ด่านไพบูลย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • ดำรงค์ ธรรมวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • โกเมศ อุนรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • ธงชาติ กันยะมี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • อมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

ผู้ขับรถขนส่งสินค้า, ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้ขับรถขนส่งสินค้าชาวไทยและเมียนมาที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศพรมแดนแม่สาย จำนวน 167 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวัดความรู้ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแบบสอบถามทัศนคติในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.70, 0.73 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวไทย 70 คน มีค่ามัธยฐานอายุ 42 ปี (IQR=33-50) สถานภาพสมรส ร้อยละ 70.66 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 44.91 และค่ามัธยฐานรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท (IQR=11,000-25,000) มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดีมาก ทัศนคติระดับปานกลาง และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในระดับถูกต้องมาก ชาวเมียนมา 97 คน มีค่ามัธยฐานอายุ 37 ปี (IQR=31-45) สถานภาพสมรส ร้อยละ 80.41 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 47.42 และค่ามัธยฐานรายได้ต่อเดือน 6,500 บาท (IQR=5,400-9,000) มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติระดับปานกลาง และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในระดับถูกต้องมาก ดังนั้นควรมีการให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด 19 กับกลุ่มผู้ขับรถขนส่งสินค้าชาวเมียนมาและชาวไทยเพื่อให้มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีทัศนคติที่ดีต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [Internet]. 2020 [cited: 2022 May 3]. Available from: https://www.who.int/europe/emergencies/situations/covid-19

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2020 [cited: 2022 May 3]. Available from: https://covid19.who.int

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

Reuben RC, Danladi MMA, Saleh DA, Ejembi PE. Knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: an epidemiological survey in North-Central Nigeria. J Community Health. 2021;46(3):457-70. Doi: 10.1007/s10900-020-00881-1

Zhang M, Zhou M, Tang F, Wang Y, Nie H, Zhang L, You G. Knowledge, attitude and practice regarding COVID-19 among healthcare workers in Henan, China. J Host Infect. 2020;105(2):183-7. Doi: 10.1016/j.jhin.2020.04.012

เพรียวภูรินทร์ มะโนเพียว, ณัฐวัชร์ ด่านไพบูลย์, ธงชาติ กันยะมี, ดำรงค์ ธรรมวงค์, โกเมศ อุนรัตน์, อมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์. การพัฒนารูปแบบการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาช่องทางเข้าออก ระหว่างประเทศพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย - Mae Sai Model. เชียงรายเวชสาร 2566;15(1):82-97.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10. Doi: 10.1177/001316447003000308

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

ภุชงค์ ชื่นชม, สิทธิชัย ยอดสุวรรณ, ธิติพงษ์ พลอยเหลือง, ประสงค์ หมื่นจันทร์, พิษณุรักษ์ กันทวี. การพัฒนาระบบการจัดการการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 บริเวณชายแดน ไทย-ลาว กรณีศึกษาอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2565;14(1):71-92.

Sanaa AA. A cross-sectional survey knowledge, attitude and practice (KAP) towards COVID-19 pandemic among the Syrian residents. BMC Public Health. 2021;21(1):1-7. Doi: 10.1186/s12889-021-10353-3

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(5):597-604.

ณัฎฐวรรณ คําแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชนในเขตอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):33-47.

วรรณา วิจิตร, ศรายุธ อุตตมางคพงศ์, ธนัญญา สุทธวงค์. การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพนักงานขับรถขนส่งสินค้าคนไทยและคนเมียนมา ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนแม่สอดแห่งที่ 2. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2564;8(1):52-5.

Mohamed AAO, Elhassan EAM, Mohamed AO, Mohammed AA, Edris HA, Mahgoop MA, et al. Knowledge, attitude and practice of the Sudanese people towards COVID-19: an online survey. BMC Public Health. 2021;21(1):1-7. Doi: 10.1186/s12889-021-10319-5

Maheshwari S, Kumar GP, Sinha R, et al. Knowledge, attitude, and practice towards coronavirus disease 2019 (COVID-19) among medical students: A cross-sectional study. J Acute Disease. 2020;9(3):100-4. Doi: 10.4103/2221-6189.283886

Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, et al. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci. 2020;16(10):1745–52. Doi: 10.7150/ijbs.45221

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-01-2024