การศึกษาความสอดคล้องการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์กับการแจ้งเตือน iRBC บนเครื่องตรวจ วิเคราะห์นับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Sysmex XN-10
คำสำคัญ:
มาลาเรีย, iRBC, เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ XN-10บทคัดย่อ
โรคมาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากโปรโตซัวในกลุ่ม Plasmodium spp. ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในภาคใต้พบอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 170 รายในปี 2565 เป็น 325 รายในปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 47.69 โดยสายพันธุ์ Plasmodium knowlesi ที่พบในพื้นที่นี้มีระยะฟักตัวและการดำเนินโรคที่รวดเร็ว ทำให้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีแล้ว เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของโรค ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีในการแจ้งเตือนการติดเชื้อมาลาเรียจากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับความแม่นยำของเทคโนโลยีดังกล่าว นำมาซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการแจ้งเตือน infected red blood cell (iRBC) จากเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติกับการตรวจพบเชื้อมาลาเรียโดยวิธีมาตรฐาน การศึกษานี้เป็นการทดลองเชิงเปรียบเทียบ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2567 โดย ใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์นับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Sysmex XN-10 และตัวอย่างที่แพทย์ได้ส่งตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด พบว่า ผู้ป่วยที่แพทย์สั่งตรวจมาลาเรีย จำนวน 467 ราย มีผู้ติดเชื้อมาลาเรีย 36 ราย ซึ่ง 34 ราย มีการแจ้งเตือน iRBC 2 ราย ไม่มีการแจ้งเตือน iRBC ผลการเปรียบเทียบด้วยวิธีมาตรฐานพบว่าการแจ้งเตือน iRBC มีความไว ความจำเพาะ คิดเป็น ร้อยละ 99.44 , 100 ตามลำดับ ดังนั้นการแจ้งเตือน iRBC จากเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Sysmex XN-10 ในการคัดกรองการติดเชื้อมาลาเรีย เป็นเครื่องมือคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้ร่วมกับวิธีมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและสนับสนุนการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คำสำคัญ: มาลาเรีย, iRBC , เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ XN-10
References
Dumas C, Tirard- Collet P, Mestrallet F, Girara S, Jallades L, Picot S, et al . Flagging performance of Sysmex XN-10 haematology analyser for malaria detection., J Clin Pathol 2020; 73:676–677. doi:10.1136/jclinpath-2019-206382.
World Heath Organization. Malaria. https://www.who.int/data/gho/data/themes/malaria (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 มิถุนายน 2568 )
สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ประเทศไทย พ.ศ.2560-2569 แผนปฏิบัติการการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569 กรุงเทพฯ:อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 พค.68 )
สำนักโรคติดต่อโดยแมลง. การตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียทางห้องปฏิบัติการ, https://elib.ddc.moph.go.th/ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 พค.68 )
Sysmex, Instructions for use Automated Hematology Analyzer XN series (XN-1000 ), Sysmex corporation Kobe, Japan,Ver.22.,30-2020.,436-437.
Khodaiji S, Sehgal K, Sethi M, Mansukhani D, Rapid Detection of Plasmodium vivax by the Hematology Analyzer for Population Screening, Diagnostics 2023, 13, 3397. https://doi.org/10.3390/diagnostics13223397.
ศศิศ บุญมี. การพัฒนาการตรวจเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium vivax โดยการใช้ค่า iRBC QFlag ร่วมกับจำนวนเกล็ดเลือดจากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัติโนมัติ Sysmex XN-1000. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2567;52:113-124.
Roccaforte V, Liuzzi G, Porreca WP, Russo RM, Zavaroni E, Angelis MLD, et al, A case of malaria diagnosed accidentally with Sysmex XN-9000 automated analyzer, J Lab Precis Med 2019; 4:13. doi: 10.21037/jlpm.2019.03.04..
Wongsrichanalai C, Barcus MJ, Muth S, Sutamihardja A, Wernsdorfer WH. A Review of Malaria Diagnostic Tools: Microscopy and Rapid Diagnostic Test (RDT). Am. J. Trop. Med. Hyg. 2007;77: 119–127
Pillay E, Khodaiji S, Bezuidenhout BC. , Litshie M , Coetzer TL. Evaluation of automated malaria diagnosis using the Sysmex XN-30 analyser in a clinical setting. Malar J (2019) 18:15 https://doi.org/10.1186/s12936-019-2655-
สิริมา ไกรสิน, อรรถกร ปาละสุวรรณ, ดวงดาว ปาละสุวรรณ. การเปลี่ยนแปลงของระบบโลหิตวิทยาในโรคมาลาเรีย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2558;25:63-71.
ศราวุธ ตุ่นคำแดง, ยุพิน อนิวรรตอังกูร, ณัฐยา แซ่อึ้ง. ค่าจำแนกที่ใช้ในการแยกผู้ป่วยติดเชื้อและไม่ติดเชื้อมาลาเรียโดยเครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดแดง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2556;25:16-26.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์ และการอนุญาต