การศึกษาทางระบาดวิทยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตโรคเลปโตสไปโรสิส พื้นที่จังหวัดสตูล พ.ศ. 2564

ผู้แต่ง

  • ปิยะพร แซ่อุ่ย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ชูพงศ์ แสงสว่าง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ธิดาพร เทพรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ฟิตรา ยูโซะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

โรคเลปโตสไปโรสิส, ภาวะหายใจล้มเหลว, เสียชีวิต, จังหวัดสตูล

บทคัดย่อ

โรคเลปโตสไปโรสิสเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของจังหวัดสตูล การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบ retrospective cohort study เพื่อหาขนาดความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสจังหวัดสตูล  โดยทำการศึกษาผู้ป่วยเข้าข่ายและยืนยันโรคเลปโตสไปโรสิสที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสตูล โรงพยาบาลมะนัง และโรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564 ทำการศึกษาศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณาและศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ รูปแบบ Retrospective cohort study เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียนโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนาและหาขนาดความสัมพันธ์ด้วย Univariate analysis   นำเสนอค่า Risk Ratio และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบผู้ป่วยเข้าข่ายโรคเลปโตสไปโรสิส 42 ราย เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 4.76 มีภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิต 4 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย 3:1 มัธยฐาน 39.5  ปี (Q1,Q3 =12,47 ปี)  มัธยฐานวันเริ่มป่วยถึงเข้ารับการรักษา และถึงให้ยาปฏิชีวนะเท่ากับ 2.5 วัน และ 3.5 วัน ตามลำดับ   ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงและเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี (RR= 7.4, 95%CI=1.32-41.46) ผู้ที่มีอาการหนาวสั่น (RR= 6.67, 95%CI=1.14-38.83) ไอเป็นเลือด (RR= 6.67, 95%CI=1.14-38.83) ปัสสาวะสีเข้ม(RR= 13.67, 95%CI=4.59-40.62)  มีเลือดออก (RR= 20.00, 95%CI=5.18-77.21) Septic shock (RR=20.00, 95%CI=5.18-77.21) และมีภาวะแทรกซ้อนแรกรับ (RR= 9.6, 95%CI=1.12-82.32) โรคเลปโตสไปโรสิสมีการดำเนินโรครวดเร็ว ควรสื่อสารให้ประชาชนในพื้นทีมีความรู้ในการป้องกันโรค หากป่วยรีบไปพบแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ต้องตระหนักสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ กำหนดแนวทางคัดกรอง วินิจฉัย และเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมลดความสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตลงได้

References

Center for Disease Control and Prevention. Leptospirosis CDC Yellow Book [Internet]. 2023

[cited 2023 November 9]. Available from: https://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2024/infections-diseases/leptospirosis

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคเลปโตสไปโรสิส (leptospirosis). นนทบุรี; 2554.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรค Leptospirosis [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=43

สำนักงานจังหวัดสตูล. ข้อมูลจังหวัดสตูล [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.satun.go.th/content/general

Sompong T, Sansanee T. Prognostic Factors Associated with Severe Leptospirosis. J Med Assoc Thai October. 2003; 86(10):925-931.

Amilasan AT, Ujiie M, Suzuki M, Salva E, Belo M CP, Koizumi et al. Outbreak of Leptospirosisafter Flood the Philippines 2009. Emerging Infectious Diseases 2012;18(1):91-94.

Fann RJ, Vidya RR, Chong HE, Indralingam V, Chan WSC. Clinical presentations and predictors of mortality for leptospirosis a study from suburban area in Malaysia. Med J Malaysia 2020;75(1):52–6.

Philip et al. Predictors of severe leptospirosis: a multicentre observational study from Central Malaysia. BMC Infect Dis.2021;21:1081.

Wang H-K et al. Factors associated with severity and mortality in patients with confirmed leptospirosis at a regional hospital in northern Taiwan, Journal of Microbiology, Immunology and Infection 2020;53(2):307-314.

Pappachan M, Mathew S, Aravindan K, Khader A, Bharghavan P, Kareem, M, et al. Risk Factors for Mortality in Patients with Leptospirosis During an Epidemic in Northern Kerala. The National Medical Journal of India 2004;17:240–243.

Panaphut T, Domrongkitchaiporn S, Thinkamrop B. Prognostic Factors of Death in Leptospirosis: a Prospectivecohort Study in Khon Kaen, Thailand. International Journal of Infectious Diseases 2002;6(1):52-59.

Marotto P, Nascimento C, Neto J, Marotto M, Andrade L, Sztajnbok J, Seguro AC. Acute Lung Injury in Leptospirosis: Clinical and Laboratory Features, Outcome, and Factors Associated with Mortality. Brazil. The Infectious Diseases Society of America. Clinical Infectious Diseases 1999; 29(6):1561-1563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-07-2024