ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของพนักงานขับรถส่งอาหาร ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรญา มาลยาภรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://orcid.org/0009-0004-4328-811X
  • ประภัสสร ดำแป้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วรรณวรา หวานสนิท สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • กวิน อินทำ สำนักงานเลขานุการกรม กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ความชุก, การเกิดอุบัติเหตุทางถนน, พนักงานขับรถส่งอาหาร, เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยความสัมพันธ์ที่มีต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของพนักงานขับรถส่งอาหาร ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถส่งอาหารที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 170 คน การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสถานที่แหล่งรวมพนักงานขับรถส่งอาหารอยู่ระหว่างรอรับอาหาร โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS) โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่าความชุกของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565 - 2566) ของพนักงานขับรถส่งอาหาร ร้อยละ 30.0 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่าจำนวนชั่วโมงการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารโดยเฉลี่ยมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และจำนวนรอบการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารโดยเฉลี่ยมากกว่า 20 รอบต่อวัน มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการกำหนดแนวทางและมาตรการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับผู้ขับขี่จักรยานยนต์ประเภทพนักงานส่งอาหาร และสามารถนำไปสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2018. [Internet]. 2018 [Cited 2023 Oct 27]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684

ธนะพงศ์ จินวงษ์. อุบัติเหตุทางถนน “ภัยเงียบ” ที่ยังอันตรายและท้าทายการจัดการ.วารสารการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564;1(1):71-6.

สำนักงานแผนความปลอดภัย สำนักงานนยาบและแผนการขนส่งจราจร. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร; 2565.

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล. บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2564. ปทุมธานี: มูลนิธิไทยโรดส์; 2565.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ธุรกิจ Food Delivery เผชิญโจทย์ยากขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลาย ความจำเป็นในการสั่ง อาหารมาส่งที่พักลดลง ราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก หรือไรเดอร์. กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3326. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/FoodDelivery- z3326.aspx.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศ ไทย ปี 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2564_Slides.aspx.

Prapan Leenol. How to Improve working conditions for gig workers in Thalland, the Research Department, Thailand's Ministry of Labour; 2021.

ไทยรัฐออนไลน์. งานวิจัยชี้ ‘ไรเดอร์’ มีความเสี่ยงทั้งอุบัติเหตุและสุขภาพ แนะจัดตั้ง ‘กองทุนอุบัติเหตุ สำหรับไรเดอร์’. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/103696

สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันสงเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงาน (องค์การมหาชน). การศึกษาสถานการณ์ ปัจจัย และผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหาร. กรุงเทพมหานคร; 2565.

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน สภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคม ของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. อำเภอเสี่ยงของจักรยานยนต์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/ampher-risk-mc-hdc

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ จังหวัดนครศรีธรรมราช. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://ae.moph.go.th/pher-plus/#/login

กองบรรณาธิการ THE OPENER. . 'เวลา-อารมณ์' เพิ่มความเสี่ยงอุบัติเหตุให้อาชีพ ไรเดอร์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://theopener.co.th/node/565

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: กลุ่มงานระบาดวิทยา โรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยากรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Vijayasankari A, Indra S, Kalpana S. Prevalence of Road Traffic Accident among Food delivery workers in Southern Chennai. IOSR Journal of Nursing and Health Science. 2020;9(3):17-20.

ศิริลักษณ์ ฉกะนันท์, สุรีย์พร ทัพภสุต, เทพบดี แลกันทะ, พิมพ์นิภา ทวีธนวิริยา, พีรนันท์ สุวรรณมณี,อานุภาพ งีสันเทียะ และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัย เปรียบเทียบนโยบายและทิศทางงาน ที่มีคุณค่าสำหรับคนทำงานขับรถขนส่งสินค้าและอาหาร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567].เข้าถึงได้จาก: http://warning.mol.go.th/uploadFile/pdf/pdf-2023-01-05-1672903833.pdf.

Choi SJ, Kim MJ, Myung J, Hong JY, Chung HS, Chung SP, et al. Characteristics of crashes and injuries on delivery motorcycles: A retrospective cohort study. Traffic Inj Prev. 2022;23(3):146- 51.

Jalilian MM, Safarpour H, Bazyar J, Keykaleh MS, Malekyan L, Khorshidi A. Environmental Related Risk Factors to Road Traffic Accidents in Ilam, Iran. Med Arch. 2019;73(3):169-72.

Tajvar A, Yekaninejad MS, Aghamolaei T, Shahraki SH, Madani A, Omidi L. Knowledge, attitudes, and practice of drivers towards traffic regulations in Bandar-Abbas, Iran. Electron Physician. 2015;7(8):1566-74.

เมธัส ศรีคำสุข, เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช. ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร กรณีศึกษาเขตบางซื่อ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 เรื่องความท้าทายด้านวิศวกรรมโยธาหลังการระบาดใหญ่; 24-26 พฤษภาคม 2566; ณ โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ท แอน สปา. ภูเก็ต;

Ngoc AM, Nishiuchi H, Nhu NT, Huyen LT. Ensuring traffic safety of cargo motorcycle drivers in last-mile delivery services in major Vietnamese cities. Case Studies on Transport Policy. 2022;10(3):1735-42.

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร, วรดุลย์ ตุลารักษ์.รูปแบบงานใหม่ของคนขับมอเตอร์ไซต์ส่งอาหารที่กำกับโดยแพลตฟอร์ม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท; 2563.

พงษ์สิทธิ บุญรักษา, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์, ทัดขวัญ มธุรชน, รักษา ศิวาพรรักษ์. รายงานการวิจัยสถาบันเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:

http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/5431

Hadaye RS, Rathod S, Shastri S. A cross-sectional study of epidemiological factors related to road traffic accidents in a metropolitan city. J Family Med Prim

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-07-2024