การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลศูนย์ตรัง จังหวัดตรัง ปี 2567

surveillance system

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ ช่วยชะนะ โรงพยาบาลนาโยง
  • ชัยณรงค์ มากเพ็ง โรงพยาบาลนาโยง

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคมือ เท้า ปาก, โรงพยาบาลศูนย์ตรัง

บทคัดย่อ

ปี พ.ศ. 2567 โรงพยาบาลศูนย์ตรัง (รพศ.ตรัง) มีการรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก เข้าระบบรายงาน Digital Diseases surveillance (DDS) คิดเป็นร้อยละ 24 (103/441) ของจำนวนรายงานทั้งจังหวัดและคิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดจาก 15 โรงพยาบาลในจังหวัด จึงสนใจที่จะทำการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของรพ.รพศ.ตรัง เพื่อศึกษาคุณลักษณะทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และให้คำแนะนำการพัฒนาระบบ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาชนิดภาคตัดขวางโดยทบทวนเวชระเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ตรัง ที่มีรหัส ICD – 10: B08.4, B08.5 ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษาลักษณะเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความยอมรับ ความมั่นคงของระบบเฝ้าระวัง และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวังทุกระดับ และเพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวัง เพื่อประเมินความไวของระบบ ค่าพยากรณ์บวก ความครบถ้วนของข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล ความทันเวลา ผลการศึกษาพบว่า จากเวชระเบียนผู้ป่วย 219 ราย เข้านิยามโรคมือ เท้า ปาก 124 ราย ในจำนวนนี้ถูกรายงาน 96 ราย ค่าความไวเท่ากับ ร้อยละ 77.42 และจากผู้ป่วยที่รายงานในระบบ DDS ทั้งหมด 98 ราย ตรงตามนิยาม 96 ราย ค่าพยากรณ์ผลบวกเท่ากับ ร้อยละ 97.96 ความทันเวลาของการรายงานภายใน 3 วันเท่ากับ ร้อยละ 100 ความครบถ้วนของข้อมูลตัวแปรที่ศึกษา ร้อยละ 100 ความถูกต้องข้อมูลหมู่บ้าน ที่อยู่ ร้อยละ 91.96 เชิงคุณภาพพบว่าระบบมีการความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความยอมรับ ความ มั่นคง ในระดับดีมาก และสามารถนำผลเฝ้าระวังไปใช้ควบคุมการ ระบาดของโรคได้ จากผลการศึกาษาแสดงค่าความไว และค่าพยากรณ์บวก อยู่ในระดับดีมาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์รายงานโรคในระบบเป็นหลัก เจ้าหน้าส่วนใหญ่จะทราบนิยามและแนวทางการรายงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานแทนสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ และผู้บริหารให้ความสำคัญในการรับมือกับโรคมือ เท้า ปากว่าเป็นโรคติดต่อที่ต้องรายงานเพื่อนําข้อมูลไปใช้วางแผนป้องกันควบคุมโรคเชิงรุก

คำสำคัญ: การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคมือ เท้า ปาก, โรงพยาบาลศูนย์ตรัง

References

กลุ่มงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคติดต่อ.รายละเอียดโรค.โรคมือเท้าปาก พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=11

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.โรคมือเท้าปาก จาก Enterovirus 71 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://nih.dmsc.moph.go.th/login/showimgpic.php?id=14

รัชนี นันทนุช. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร จังหวัดขอนแก่น พ.ศ.2555 [อินเทอร์เน็ต]. 2546 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc7.ddc.moph.go.th/journal/files/07%20%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A %E0%B8%99%E0%B8%B5.indd.pdf

ณรงฤทธิ์ กิตติกวนิ, ภัคจิรา เกตุสถตยิ์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากของศูนย์บริการสาธารณสุข กลุ่มเขตแห่งหนึ่งสังกัดกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/uploads/files/082f0103c4b12d62619558629a5c42ca.pdf

ปรารถนา ประสงค์ดี, พัฒนศักดิ์ ฤทธิ์สุข. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากจังหวัดอุทัยธานี ปีพ.ศ. 2556 [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://wesr.doe.moph.go.th/wesr_new/file/y59/Fs5907_1505.pdf

พันธุ์เชษฐ์ บุญช่วย, เจนฤทธิ์ รอเกตุ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก โรงพยาบาลท่าแพ จังหวัดสตูล ปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://wesr.doe.moph.go.th/wesr_new/f ile/y60/Fs6003_1559.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506.โรคมือ เท้า ปาก. [สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttp://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=71

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

7) ลักขณา สีนวลแล.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา.การประเมินสมรรถนะของระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส จังหวัดสุรินทร์พ.ศ. 2559. [สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/TOOM/Downloads/188221-Article%20Text-672087-1-10-20190829.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-07-2025

How to Cite

1.
ช่วยชะนะ ศ, มากเพ็ง ช. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลศูนย์ตรัง จังหวัดตรัง ปี 2567: surveillance system . jodpc12sk [อินเทอร์เน็ต]. 16 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 17 กรกฎาคม 2025];3(1):38-49. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/3020