ความรู้ การรับรู้ ที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลโพธิ์ใหญ่

Main Article Content

วุฒิฌาน ห้วยทราย
จินตนา ทองสง่า
อินทุอร นามเหลา
ณัฏฐิณี พงษ์ชะอุ่มดี
ศรายุทธ ชูสุทน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรู้ การรับรู้ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่ ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 157 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติ Pearson’s correlation ผลการวิจัย พบว่า1) ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.60 มีอายุในช่วง 60 - 70 ปี ร้อยละ 51.60 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 66.00 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีทั้งหมด เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 22.30 และมีระยะเวลาที่เจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังส่วนใหญ่มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 37.50 2) ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 49.70 3) การรับรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 88.50 4) การปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 79.60  5) ความรู้ และการรับรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.384, 314,p-value = .000, .000 ตามลำดับ) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถไปปรับใช้ในการจัดทำโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปาก

Article Details

บท
Articles

References

วรุณีย์ สีม่วงงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนหมู่ที่10 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”; มหาวิทยาลัยราชธานี; 2561

สำนักทันตสาธารณสุขและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญ พาณิชย์จำกัด; 2561

สำนักทันตสาธารณสุข. แนวทางการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ayo.moph.go.th/dental/file_upload/

ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. จำนวนประชากรแยกรายอายุจังหวัดอุบลราชธานี

[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th

ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดอุบลราชธานี. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มาราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.166.6/chronic/ rep_serv_oldpt.php

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี

[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phoubon.in.th/

Krejcie R.V.& Morgan. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970; 30: 607-10

หทัยชนก พรรคเจริญ. เทคนิคการเลือกตัวอย่าง [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/

nsopublish/Toneminute/files

นูร์มา แวบือซา. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี; 2551

นงนุช เหลื่อมเภา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่บ้านน้อยสนามบิน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556

สมลักษณ์ แสงสัมฤทธิ์สกุล. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559

กุลชญา ลอยหา และกรุณา จันทุม. การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคและพฤติกรรสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วาสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23: 1-8

ประภาส ขำมาก และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558; 2: 74-91

ธนิดา ผาติเสนะและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2561; 17: 26

เพชรรัตน์ ศิริสุวรรณ และฉัตรลดา ดีพร้อม. ความรู้ การรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2561; 19: 73-85

จินตนา ธรรมกันหา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2556; 17: 17-30

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559

กนกนุช เนตรงามทวี. ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล สถานะสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23: 23-37

อภิวัฒน์ แสนวงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติกับการปฏิบัติตัวด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบลหนองกุงอำเภอโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558

ศิริรัตน์ รอดแสวง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลทุ่งทองอำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558