แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรวัยทำงานในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน ที่คำนวณมาจากวิธีการของ ทาโร่ ยามาเน่ สำหรับบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล มีค่า IOC มากกว่า 0.50 ทุกข้อและมีความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.750 ถึง 0.905 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการถอดความ การให้ความหมายและการสังเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.53, S.D.=0.591) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.47, S.D.=0.583) ทักษะในการสื่อสารสารด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.31, S.D.=0.539) การจัดการตนเองอยู่ในระดับดี ( =2.80, S.D.=0.488) ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง ( =2.47, S.D.=0.575) การตัดสินใจเลือกสื่ออยู่ในระดับปานกลาง ( =2.56, S.D.=0.599) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (b=0.173, p < 0.01) และการจัดการตนเอง (b=0.344, p < 0.01) งานวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปสร้างรูปแบบและแนวทางในการสร้างช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงข้อมูลสุขภาพรายบุคคลเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสุขภาพของตนเอง เพื่อให้เกิดการจัดการสุขภาพของตนเองที่ดีจนเกิดเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสมุทรสงครามต่อไป
Article Details
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.2561
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 5th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc.2006.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข.แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564.2559
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.2560
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [อินเตอร์เน็ต].2561. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. เอกสารรายงานการตรวจราชการ รอบที่ 2/2565. จังหวัดสมุทรสงคราม. 2565
พัชรา พยัคเวช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2565;7(2),44-55
จำปี ยังวัฒนา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง 2564;35(1),5-16
เบญจวรรณ สอนอาจ.แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย.นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562
Yamane T., Statistics,Anintroductory Analysis, 2nd Ed,New Tork : Harper and Row.1967
นพพร จันทรนาชู. วิธีเชิงปริมาณสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช. 2563
พิทยา ไพบูลย์ศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย,2561; 8(1), 97-107
ภทพร บวรทิพย์,ศิวพร อึ้งวัฒนา,นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่.พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2566;50(1):284-99
ทรรศนีย์ บุญมั่น.ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2566;4(1):137-52
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง,จิราพร วรวงศ์.ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(2):454-68