การประเมินผลโครงการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

จินดา คำแก้ว
สุรีย์ ธรรมิกบวร
จรูญศรี มีหนองหว้า
จตุพร ผลเกิด
เยี่ยมอุบล สุขเสริม
ถนอมศักดิ์ บุญสู่

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ประเมินผลโครงการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข ใช้กรอบแนวคิด CIPPIEST model ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือและความเชื่อมั่นได้ 0.87 เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง และสำรวจกลุ่มกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างแยกรายจังหวัด จำนวน 509 คน เก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2564 - มกราคม 2565


ผลการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 8 องค์ประกอบของการประเมินผลโครงการฯ ด้านบริบท ระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18, S.D.=.66) ด้านปัจจัยนำเข้า ระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.92, S.D.=.62)  ด้านกระบวนการ ระดับดีมาก(ค่าเฉลี่ย 4.03, S.D.=.58)  ด้านผลผลิต ระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.98, S.D.=.70)  ด้านผลกระทบ ระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.89, S.D.=.59)  ด้านประสิทธิผล ระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.87, S.D.=.68)  ด้านความยั่งยืน ระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.44, S.D.=.76)  ด้านการถ่ายทอด ระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.99, S.D.=.67)  โดยรวมระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.95 S.D.=0.51) ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า วัณโรคเป็นปัญหาสำคัญเชิงนโยบายระดับเขตสุขภาพ ทำให้ได้รับงบประมาณการเข้าถึงระบบคัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยงได้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ล่าช้าจากงบประมาณรวมทั้งคัดกรองด้วยวิธี X-Ray จากรถ Mobile และแจ้งผลส่งตรวจ Molecular Biology ส่งผลต่อการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ อีกทั้ง อุปสรรคจากระบบฐานข้อมูลหลายโปรแกรม ดังนั้น ควรทบทวนกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อระหว่างคัดกรอง สำหรับด้านความยั่งยืนของโครงการเป็นสิ่งที่ต้องทบทวนและพิจารณาให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม และควรพิจารณาดำเนินการในพื้นที่ระบบสุขภาพระดับอำเภอที่ยังเป็นปัญหาเท่านั้น

Article Details

บท
Articles

References

WHO, Global TB Report. [อินเทอร์เน็ต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.paho.org/en/documents/global-tuberculosis-report-2019

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Login.aspx

พงศ์เทพ จิระโร. การประเมินโครงการ: สิ่งจําเป็นในการทํางานยุคใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต].2555 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2564]. 23(3): [หน้า43-56]. เข้าถึงได้จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/2098/43-56.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Stufflebeam DL, and Coryn CLS. Evaluation: theory, models and applications (2nd edition). Francisco: Jossey-Bass; 2014

รัตนะ บัวสนธ์. รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2563]. 5(2): [หน้า7-24]. เข้าถึงได้จาก https://dokumen.tips/documents/aaaaaaaaaaaaaaaa-cipp-aaa-cipp-iest-aaa.html?page=1

อรุณ จิระวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

สมัย พูนทอง, เจริญชัย คำแฝง, ชนะ หอมจันทร์, จีระนันท์ คำแฝง และทวีศักดิ์ จันทร์หอม. การประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารควบคุมโรค[อินเทอร์เน็ต].2556. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. 39(3): [หน้า266-271]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155083

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์; 2560

เกษสุมา วงษ์ไกร, พุทธิไกร ประมวล, ภัทราภรณ์ บัวพันธ์. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10 [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2565]. 18(1): [หน้า 73-82]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/249614/169641

ศศิธร ศรีโพธิ์ทอง, วิโรจน์ วรรณภิระ, วาสนา เกตุมะ. การคัดกรองวัณโรคปอดในกลุ่มเสี่ยงและประสิทธิภาพของแบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอด.พุทธชินราชเวชสาร[อินเทอร์เน็ต].2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. 35(3): [หน้า394-400]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/201190/140603

เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์, ศุภรดา ภาแสนทรัพย์, น้ำฝน เสาวภาคย์ไพบูลย์. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต].2564. [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2565]. 29(1): [หน้า96-110].เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/250824/170547

ดวงใจ ไทยวงษ์, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์, สุวัฒนา อ่อนประสงค์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรคโดยหมอประจำบ้านของอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2566]. 29(3): [หน้า111-30]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/259745/175213

สมัย พูนทอง, เจริญชัย คำแฝง, ชนะ หอมจันทร์, จีระนันท์ คำแฝง, ทวีศักดิ์ จันทร์หอม. การประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารควบคุมโรค[อินเทอร์เน็ต].2556. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. 39(3): [หน้า266-71]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155083

ศรีสุนทร วิริยะวิภาต, กังสดาล สุวรรณรงค์, ชุติมา วัชรกุล, สารัช บุญไตรย์. การประเมินผลนโยบายต่อการขับเคลื่อนโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนในพื้นที่ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2555.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น[อินเทอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. 19(2): [หน้า 84-99]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/166088/120116