ผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • ประภาพร นามวงศ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • ผจงวรรณ อดุลยศักดิ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด, การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง  กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1. ผู้ป่วยกล้ามเนี้อหัวใจขาดเลือด ที่ทำการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน และมารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา  ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566   ทั้งหมดจำนวนรวม 80 ราย และ 2. พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม จำนวน 12 คน ใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกจำนวนอุบัติการณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสัมพันธ์ทางสถิติ Paired t – test และ สถิติ Independent T-test

ผลการวิจัย: พบว่าวันที่สองหลังการทดลอง คะแนนการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.00+1.90 vs 7.58+0.79; p < .001)  และผู้ป่วยกลุ่มทดลองพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะก้อนเลือดใต้ผิวหนังของผู้ป่วยน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.17+0.38 vs 1.05+0.22; p = 0.04) 

สรุปผลการวิจัย: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน ที่ผู้วิจัยนำมาประยุกต์ใช้ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมนี้ สามารถช่วยให้พยาบาลมีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกัน และทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

References

World Health Organization. Cardiovascular disease [Internet]. 2019 [cited 2023 Sep 29]. Available from: https://www.who.int/cardiovascular_diseases/resources/atlas/en/2019.

กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-02

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: เนคสเตปดีไซน; 2563.

Alpert JS, Thygesen K, Antman E, Bassand JP. Myocardial infarction redefined - a consensus document of The Joint European Society of Cardiology/American College of Cardiology Committee for the redefinition of myocardial infarction. J Am Coll Cardio. 2000;36:959-69.

Thomas L, Hotchkiss R. Evidence - based medicine. Medical journal. 2002;48(1):71-71.

กรรณิการ์ เกียรติสนธิ์. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษา. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข. 2565;2(1):28-42.

แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์, สุรสิทธิ์ ช่วยบุญ, ณหฤทัย นฤมานโภคิน. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ: กรณีศึกษา. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2562;30(2):2-14.

บุหลัน เปลี่ยนไธสง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(1):63-76.

Al-Hijji MA, Lennon RJ, Gulati R, El Sabbagh A, Park JY, Crusan D, et al. Safety and risk of major complications with diagnostic cardiac catheterization. Circulation: Cardiovascular Interventions. 2019;12(7):1-9.

Severino P, D'Amato A, Pucci M, Infusino F, Birtolo LI, Mariani MV, et al. Ischemic heart disease pathophysiology paradigms overview: From Plaque activation to microvascular dysfunction. International Journal of Molecular Sciences. 2021;(21):1-71.

ฉันทนา เจริญสิน, รัชนี ศรีชาย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินผู้ป่วยเพื่อถอดท่อนำสายสวนคาหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบในผู้ป่วยภายหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2563;5(1):1-13.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ดิลก ภิยโยทัย. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ธท.2. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร. 2562;46(4):149-157.

Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 8th ed. New York: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.

จุฑามาศ หมื่นวิเศษ. ประสิทธิผลของแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจผ่านทาง หลอดเลือด: กรณีศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 19 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php?id=MTAy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30