การพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Chamlonglux Suebsa

บทคัดย่อ

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ เกิดจากเชื้อโรคทำให้หลอดเลือดขยายและพลาสมารั่วออกนอกหลอดเลือด เลือดไหลเวียนเลือดเข้าสู่หัวใจได้น้อย ปริมาตรเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยต่าง ๆ ได้ลดลง ถ้าอวัยวะขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะอวัยวะทำงานล้มเหลว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยต้องสามารถประเมินภาวะช็อกได้ย่างรวดเร็ว และให้การพยาบาลสอดคล้องกับแผนการรักษา โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต และรีบเร่งในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรคให้ทันเวลา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลน้ำยืน ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล และการดูแลแบบองค์รวม

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นหญิงวัยสูงอายุ มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตเสื่อมระยะที่ 4 รายที่ 1 อายุ 72 ปี มาด้วยอาการปวดจุกแน่นท้องหลังรับประทานลาบปลา แรกรับไม่มีไข้ ความดันโลหิต 60/40 mmHg, SOS 3 คะแนน ตรวจ H/C ขึ้นเชื้อ Bacillus app. ได้รับ 0.9%NSS 1,000 ml vein load x II, Levophed (4:100), Metronidazole และ Ceftriaxone ผู้ป่วยพ้นภาวะช็อกภายใน 30 นาที ควบคุมเบาหวานได้ อาการดีขึ้น แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน โดยนอนโรงพยาบาล 4 วัน รายที่ 2 อายุ 62 ปี มาด้วยอาการถ่ายเหลวและอาเจียนเป็นน้ำ และหลังเท้าบวมแดงทั้ง 2 ข้าง แรกรับมีไข้สูง ความดันโลหิต 80/50 mmHg, SOS 6 คะแนน ตรวจ H/C ไม่ขึ้นเชื้อ ได้รับ 0.9%NSS 500 ml vein load, Levophed (4:250), Metronidazole และ Ceftazidime ผู้ป่วยพ้นภาวะช็อกภายใน 1 ชั่วโมง ควบคุมเบาหวานได้ อาการบวมแดงหลังเท้าดีขึ้น วันที่ 8 มี Hct 20% ดูแลให้ PRC 1 unit หลังให้ PRC มี Hct 27% อาการดีขึ้นตามลำดีบ แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน โดยนอนโรงพยาบาล 11 วัน

สรุป: การพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต และให้ยาปฏิชีวนะอย่างเร่งด่วน ตามแผนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะช็อกให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ ที่จะนำไปสู่การเสียชีวิต ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และในระยะก่อนจำหน่ายควรส่งเสริมผู้สูงอายุโรคเรื้อรังให้ดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีก

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21