ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยต่อพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, สมรรถภาพสมอง, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, พฤติกรรมการรับประทานอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยต่อสมรรถภาพสมอง พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยการทดสอบทางสถิติแบบค่าเฉลี่ย ได้ขนาดตัวอย่างกลุ่มละ 30 คน รวม 60 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสมรรถภาพสมอง พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยสถิติทดสอบ Paired samples t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบ Independent samples t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 70-79 ปี มีดัชนีมวลกายอยูในเกณฑ์อ้วน เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคไขมันในเลือดสูง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ และมีรายได้ที่เพียงพอ ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพสมอง (MMSE) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยพบปัจจัย 5 ด้าน ที่มีคะแนนสูงขึ้น (p-value<0.05) ได้แก่ ด้าน Orientation (time), Orientation (place), Attention, Recall และ Verbal command ขณะที่ด้านพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ดังนั้น โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย สามารถส่งเสริมและกระตุ้นศักยภาพของสมอง ชะลออาการสมองเสื่อม ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตโดยพึ่งพาตนเองและอยู่ในสังคมได้นานขึ้น
References
Ferri CP, Prince M, Brayne C, Brodaty H, Fratiglioni L, Ganguli M, et al. Global prevalence of dementia: a Delphi consensus study. Lancet 2005; 366(9503): 2112-7. doi: 10.1016/S0140-6736(05)67889-0.
PubMed PMID: 16360788.
บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2559.
Smith T, Gildeh N, Holmes C. The Montreal Cognitive Assessment: validity and utility in a memory clinic setting. Can J Psychiatry 2007; 52(5): 329-32. doi: 10.1177/070674370705200508.
PubMed PMID: 17542384.
ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล มกราคม-มีนาคม 2560; 32(1): 64-80.
กรวรรณ ยอดไม้. บทบาทครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2560; 31(1): 189-204.
ภาวดี เหมทานนท์, นพรัตน์ ไชยชำนิ, สมสุข สมมะลวน, ก สินศักดิ์ สุวรรณโชติ, วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์.
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต กันยายน-ธันวาคม 2565; 36(3): 141-156.
ชลิต เชาว์วิไลย, วินัย พูลศรี, ธีรนันท์ ตันพาณิชย์. แนวทางการป้องกันผู้สูงอายุจากภาวะสมองเสื่อม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน เมษายน-มิถุนายน 2565; 8(2): 8-15.
กรมอนามัย. แอปพลิเคชันสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ (Blue Book Application). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
Creer LT. Self-management of chronic illness: Handbook of self-regulation. California: Academic; 2000.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยสำหรับบุคลากรสุขภาพ. กรุงเทพ: สินทวีการพิมพ์; 2563.
Folstein MF, Folstein SE, McHugh PR. “Mini-mental state”. A practical method for grading the cognitive state of patients for the clinician. J Psychiatr Res 1975; 12(3): 189-98. doi: 10.1016/0022-3956(75)90026-6. PubMed PMID: 1202204.
Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy programme for people with dementia: randomised controlled trial. Br J Psychiatry 2003; 183: 248-54. doi: 10.1192/bjp.183.3.248. PubMed PMID: 12948999.
ณิชาภัทร มณีพันธ์, ศรินรัตน์ จันทพิมพ์, ณรงค์กร ชัยวงศ์. การพัฒนาชุดกิจกรรมภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ กันยายน-ธันวาคม 2565; 15(3): 85-98.
จรรเพ็ญ ภัทรเดช. ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพสมองผ่านการสนทนากลุ่มไลน์ต่อความสามารถการทำงานของสมองในผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุเพื่อนช่วยเพื่อนโรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ มกราคม-มิถุนายน 2565; 5(1): 62-74.
Gheysari F, Mazaheri M. Effect of Cognitive Rehabilitation on Cognitive State and Depression of Older Men with Mild Cognitive Impairment Living in Nursing Homes. Iranian Journal of Ageing 2023; 17(4): 522-35. doi: 10.32598/sija.2022.3272.1.
Quinn C, Toms G, Anderson D, Clare L. A Review of Self-Management Interventions for People with Dementia and Mild Cognitive Impairment. J Appl Gerontol 2016; 35(11): 1154-88.
doi: 10.1177/0733464814566852. PubMed PMID: 25608870.
ศศินี อภิชนกิจ, อาภาพรรณ นเรนทร์พิทักษ์, อุไรลักษณ์ หมัดคง, ปิลันธนา อเวรา, ภัคณัฏฐ์ ผลประเสริฐ, อริศรา พิชัยภูษิต. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรก ของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี พฤษภาคม-สิงหาคม 2562; 27(2): 138-49.
รินดา เจวประเสริฐพันธุ์. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย. พุทธชินราชเวชสาร พฤษภาคม-สิงหาคม 2562; 37(2): 217-25.
ปิ่นมณี สุวรรณโมสิ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการรู้คิดบกพร่อง. วารสารพยาบาลตำรวจ กรกฎาคม-ธันวาคม 2559; 8(2): 45-57.
ภาฤดี พันธุ์พรม, ยุวดี รอดจากภัย, กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2560; 31(1): 44-59.
อิงใจ จันทมูล. ความชุกของโรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์แพทยศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงภรณ์มหาวิทยาลัย; 2539. 215 หน้า.
รัตติยา ฤทธิช่วย, อนุสรณ์ จิตมนัส, อรอุมา รักษาชล, วลิษา อินทรภักดิ์, ณัฏฐิณีย์ คงนวล, หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ มกราคม-มิถุนายน 2563; 13(1): 56-64.
สายสุนีย์ เลิศกระโทก, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มกราคม-เมษายน 2556; 43(1): 42-54.
Yusufov M, Weyandt LL, Piryatinsky I. Alzheimer’s disease and diet: a systematic review. Int J Neurosci 2017; 127(2): 161-75. doi: 10.3109/00207454.2016.1155572. PubMed PMID: 26887612.
Papatsimpas V, Vrouva S, Papadopoulou M, Papathanasiou G, Bakalidou D. The Effects of Aerobic and Resistance Exercises on the Cognitive and Physical Function of Persons with Mild Dementia: A Randomized Controlled Trial Protocol. Healthcare (Basel) 2023; 11(5): 677.
doi: 10.3390/healthcare11050677. PubMed PMID: 36900682.
มาลี คำคง, มาริสา สุวรรณราช, สกุนตลา แซ่เตียว. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุโดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ กันยายน-ธันวาคม 2561; 5(3): 53-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2025-07-03 (2)
- 2024-06-21 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของยโสธรเวชสาร