สาเหตุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นใน โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นันทวุฒิ เดชอัมพร โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร

คำสำคัญ:

ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น, การส่องกล้องในทางเดินอาหารส่วนบน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นภาวะที่พบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังเป็น ภาวะฉุกเฉินสำคัญที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและมีความสำคัญในเวชปฏิบัติ เนื่องจากเป็นภาวะที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุ ปัจจัยทํานายการเกิดของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในผู้ป่วยโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

รูปแบบการศึกษา : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study)

วัสดุและวิธีการ: กลุ่มประชากรคือ เวชระเบียนผู้ป่วยที่มีการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2565 และได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น โดยบันทึกข้อมูลพื้นฐาน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ สาเหตุ ปัจจัยทํานายการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น วิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นได้รับการส่องกล้องทั้งหมด 151 คน พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง  ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่เกิดจาก Non-variceal bleeding จำนวน 118 คน (ร้อยละ 78.15) โดยมีสาเหตุสูงสุดจาก Gastric ulcer จำนวน 79 คน (ร้อยละ 52.32) มี Variceal bleeding จำนวน 33 คน (ร้อยละ 21.85) ตำแหน่งของ Peptic ulcer ที่พบมากสุดคือ Gastric antrum จำนวน 62 คน (ร้อยละ 65.97) รองลงมาคือ Gastric pylorus จำนวน 11 คน (ร้อยละ 11.70) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น พบว่า ประวัติการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 30 % การได้รับ NSAIDs อาเจียนเป็นเลือด ซีดอ่อนเพลีย และปวดท้องลิ้นปี่ พบว่ามีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00, 0.04, 0.00, 0.03, 0.00, 0.03 และ 0.04 ตามลำดับ

สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยทํานายที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในผู้ป่วยโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  คือ การดื่มสุรา รองลงมาคือ การสูบบุหรี่และอาเจียนเป็นเลือด  ถ้าลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวนี้ อาจจะช่วยป้องกันภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นได้

Author Biography

นันทวุฒิ เดชอัมพร, โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร

พ.บ.

ว.ว. สาขาศัลยศาสตร์

References

นนทลี เผ่าสวัสดิ์. Upper gastrointestinal bleeding. ใน: สถาพร มานัสสถิตย์, สุพจน์ พงศ์ประสบชัย, อุดร คชินทร, บรรณาธิการ. Clinical practice in gastroenterology. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2553.

สาวิตร โฆษิตชัยวัฒน์. ตำราศัลยศาสตร์รามาธิบดี เล่ม 2: สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

Vakil N. Peptic ulcer disease [Internet]. 2023 [Cited 2023 Nov 1]. Available from: https://www.merckmanuals.com/professional/gastrointestinal-disorders/gastritis-and-peptic-ulcer-disease/peptic-ulcer-disease

Lim JK, Ahmed A. Endoscopic approach to the treatment of gastrointestinal bleeding. Tech Vasc Interv Radiol 2004; 7(3): 123-9. doi: 10.1053/j.tvir.2004.12.002. PubMed PMID: 16015556.

Gralnek IM, Barkun AN, Bardou M. Management of acute bleeding from a peptic ulcer. N Engl J Med 2008; 359(9): 928-37. doi: 10.1056/NEJMra0706113. PubMed PMID: 18753649.

ภาณุวัตน์ เลิศสิทธิชัย. ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น: ศัลยกรรม. ใน: โสภณ จิรสิริธรรม,

จักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ์, ทวีศักดิ์ จันทร์วิทยานุชิต, ณรงค์ บุณยะโหตระ, สาธิต กรเณศ, สุกษม อัตนวานิช และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์ฉุกเฉิน หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2549. หน้า 55-67

Thabut D, Bernard-Chabert B. Management of acute bleeding from portal hypertension. Best Pract Res Clin Gastroenterol 2007; 21(1): 19-29. doi: 10.1016/j.bpg.2006.07.010. PubMed PMID: 17223494.

Malik TF, Gnanapandithan K, Singh K. Peptic ulcer disease. StatPearls [Internet] 2023 [Cited 2023 Nov 1]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK534792/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สถาพร มานัสสถิตย์, สุพจน์ พงศ์ประสบชัย, อุดม คชินทร, บรรณาธิการ. Clinical practice in gastroenterology. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2553.

จุมพล วิลาศรัศมี. ตำราศัลยศาสตร์ คลินิก 1. กรุงเทพฯ: โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2553.

Leontiadis GI, Sharma VK, Howden CW. Proton pump inhibitor treatment for acute peptic ulcer bleeding. Cochrane Database Syst Rev 2006; 25(1): CD002094. doi: 10.1002/14651858.CD002094.pub3. PubMed PMID: 16437441.

โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานข้อมูลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ปี 2563-2565 ของกลุ่มงานศัลยกรรม. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร; 2565.

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.

อรรถพล รัตนสุภา. บทบาทการใช้ปัจจัยทางคลินิกเพื่อทำนายสาเหตุของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน. วารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มกราคม 2555; 95(1): 22-8.

บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

ขนิษฐา รักษาเคน, สุพัตรา บัวที. ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มิถุนายน-สิงหาคม 2560; 36 (4): 417-25.

สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในประเทศไทย 2557 [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitage.org/source/content-file/content-file-id-6.pdf

สุวิทย์ ศรีอัษฏาพร, ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์, สมหมาย วิไลรัตน์. เลือดออกเฉียบพลันจากส่วนต้นของระบบทางเดินอาหาร: การศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วย 1,388 ราย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร กุมภาพันธ์ 2531; 32(2): 165-74.

ชัชวาลย์ วงศ์จิตรัตน์, นัฏกานต์ วงศ์จิตรัตน์. สาเหตุของภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมษายน 2556; 20(1): 46-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21 — Updated on 2025-07-03

Versions

How to Cite

เดชอัมพร น. . (2025). สาเหตุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นใน โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ยโสธรเวชสาร, 26(1), 87–97. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/1065 (Original work published 21 มิถุนายน 2024)