ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกุดชุม

ผู้แต่ง

  • ศศิธร แสงสุข โรงพยาบาลกุดชุม
  • ไสว โสมาบุตร โรงพยาบาลกุดชุม
  • มนัสนันท์ สุพรรณโมก โรงพยาบาลกุดชุม

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โปรแกรมการจัดการตนเอง, สมรรถภาพปอด

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการตนเองที่ดี เพื่อลดอาการกำเริบและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอาการกำเริบเฉียบพลัน การกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน สมรรถภาพของปอด และความสามารถในการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองก่อน และหลังการทดลอง

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quai-experimental research) แบบมีกลุ่มควบคุมและทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุ 35-59 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาในช่วง 20 ตุลาคม 266 -20 ธันวาคม 2566 คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 80 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ 40 ราย 2) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองจำนวน 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประเมินระดับความรุนแรงของโรค แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการวิจัย โปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pair t test และ Pearson chi square

ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 1) อาการกำเริบเฉียบพลัน หลังได้รับโปรแกรมฯ ลดลง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) การกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังได้รับโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกัน 3) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยค่าสมรรถภาพปอดดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ .05 แต่กลุ่มควบคุมสมรรถภาพปอดไม่แตกต่างกัน 4) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง มีพฤติกรรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ .05

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถส่งเสริมให้

ผู้ป่วยมีการจัดการตนเองที่ดี ควรนำไปใช้และติดตามผลในระยะยาว

Author Biographies

ศศิธร แสงสุข, โรงพยาบาลกุดชุม

พย.บ.

ไสว โสมาบุตร, โรงพยาบาลกุดชุม

พย.บ.

มนัสนันท์ สุพรรณโมก, โรงพยาบาลกุดชุม

พย.บ.

References

World Health Organization. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. 2023 [Cited 2023 Dec 14]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease: 2022 Report [Internet]. 2021 [Cited 2023 Oct 26]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2021/12/GOLD-REPORT-2022-v1.1-22Nov2021_WMV.pdf

คลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุข (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยรายใหม่ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=62cdb786f231afbaaaaaac1d5ff844b0

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2565.

Donaldson GC, Seemungal TAR, Bhowmik A, Wedzicha JA. Relationship between exacerbation frequency and lung function decline in chronic obstructive pulmonary disease. Thorax 2002; 57(10): 847-52. doi: 10.1136/thorax.57.10.847. PubMed PMID: 12324669.

รายงานสถิติข้อมูลผู้ป่วยประจำปี พ.ศ. 2563–2565. ยโสธร: โรงพยาบาลกุดชุม; 2565.

Bourbeau J, Julien M, Maltais F, Rouleau M, Beaupré A, Bégin R, et al. Reduction of hospital utilization in patient with chronic obstructive pulmonary disease: a disease-specific self-management intervention. Arch Intern Med 2003; 163(5): 585-91. doi: 10.1001/archinte.163.5.585. PubMed PMID: 12622605.

ธาดา วินทะไชย, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤษภาคม-สิงหาคม 2561; 30(2): 124-135.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. การวิจัยและการพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร กรกฎาคม-ธันวาคม 2552; 1(2): 1-12.

ปาริชาติ ทองสาลี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการฝึกปฏิบัติโยคะต่อระดับน้ำตาลในเลือดและความผาสุกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก พฤษภาคม-สิงหาคม 2557; 15(2): 129-34.

จิราพร รักษายศ, ศิริเพ็ญ สิทธิบรรณ์. ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกคนรักษ์ปอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556; 22(6): 973-8.

รัตนา พรหมบุตร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นการศึกษาเพื่อศึกษาการการลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ปราณี สายรัตน์, ชดช้อย วัฒนะ, นิตยา ตากวิริยะนันท์. ผลของโปรแกรมการฝึกการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร ตุลาคม-ธันวาคม 2557; 41(4): 23-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21 — Updated on 2025-07-03

Versions

How to Cite

แสงสุข ศ. ., โสมาบุตร ไ. ., & สุพรรณโมก ม. . (2025). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกุดชุม. ยโสธรเวชสาร, 26(1), 113–126. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/1067 (Original work published 21 มิถุนายน 2024)