การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการส่งต่อแบบช่องทางด่วน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Jiralak Klangthin

บทคัดย่อ

หลอดเลือดหัวใจที่มีการอุดตันหรือตีบรุนแรงจากลิ่มเลือด ทำให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบ ST-segment elevated (STEMI) อาการสำคัญที่นำมา ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น เหนื่อย เหงื่อแตก อาจหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินและอันตรายแก่ชีวิต พยาบาลห้องฉุกเฉินต้องสามารถประเมินผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเป็นนาที เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือดให้ทันเวลา พร้อมทั้งเตรียมส่งต่อผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อรับการสวนหัวใจ และเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต

วัตถุประสงค์: การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการส่งต่อแบบช่องทางด่วน โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลน้ำยืน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน จากผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และการส่งต่อ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นผู้ชาย มีอาการนำเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อย เหงือแตก ผู้ป่วยรายที่ 1 และรายที่ 2 มีอายุ 50 และ 60 ปี ตรวจ EKG พบ ST elevated at II, III, aVF, V3-V6, V3R, V4R, และ at aVF, V2-V3 เจ็บแน่นหน้าอก 6/10 และ 10/10 คะแนน ปรึกษาแพทย์เชี่ยวชาญด้านหัวใจและวินิจฉัย STEMI ภายใน 42 และ 65 นาที ดูแลให้ยา Streptokinase ภายใน 50 และ 70 นาที ตามลำดับ ผู้ป่วยรายที่ 1 หลังให้ยา Streptokinase มีเจ็บแน่นหน้าอก 2/10 รายที่ 2 ขณะให้รับยา Streptokinase มีความดันโลหิตต่ำ ดูแลให้ 0.9%NSS และ Dopamine (2:1) ความดันโลหิตเป็นปกติ ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการส่งต่อแบบช่องทางด่วนไปโรงพยาบาลมาข่าย ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด หลังทำผู้ป่วยรายที่ 1 อาการดีขึ้น รายที่ 2 อาการซึมลงและภายหลังอาการดีขึ้น

สรุป: การพยาบาลผู้ป่วย STEMI พยาบาลต้องประสานโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และให้ยา Streptokinase เพื่อละลายลิ่มเลือดโดยเร็วที่สุด การเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา ระยะส่งต่อแบบช่องทางด่วน พยาบาลต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการดูแลและประเมินผู้ป่วยในรถฉุกเฉินตลอดเวลา เพื่อให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที จนกระทั่งถึงโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21