การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • โรงพยาบาลน้ำขุ่น โรงพยาบาลน้ำขุ่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการกำเริบเฉียบพลัน, ปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นความผิดปกติในการตอบสนองของปอดต่อสารหรือก๊าซที่มากระตุ้น ระยะโรคสงบผู้ป่วยจะหายใจไม่หอบ เมื่ออาการกำเริบผู้ป่วยจะมีอาการไอมีเสมหะและหายใจหอบ มีความผิดปกติของหัวใจอาจเกิดหัวใจซีกขวาวายและอาจเสียชีวิตได้ พยาบาลที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยต้องตระหนักเสมอว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ให้ยาพ่นขยายหลอดลมและยาต้านการอักเสบเพื่อลดบวม เมื่ออาการดีขึ้นพยาบาลต้องวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูสภาพปอดและการบริหารร่างกายและเพื่อทำให้โรคสงบ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการกำเริบเฉียบพลัน

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลน้ำขุ่น ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล และการดูแลแบบองค์รวม

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นชายวัยสูงอายุมีโรคประจำตัวเป็น COPD มาโรงพยาบาลด้วยอาการนำ ไอมีเสมหะและหายใจหอบเหนื่อยพ่นยา 3 ครั้งที่บ้านไม่ดีขึ้น รายที่ 1 อายุ 62 ปี อาการนำเพิ่มคือไข้สูงฟัง Lung มีเสียง Crepitation + Wheezing, Chest x-ray พบ Infiltration both lung ได้รับยา Ceftriaxone IV, Roxithromycin มีระดับความดันเลือดสูง ดูแลให้ยา Amlodipine รายที่ 2 อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเพิ่มคือ Asthma และ HT ขณะรับการรักษามีภาวะ AF with tachycardia ดูแลให้ Amiodarone IV, Warfarin, Amlodipine, Enalapril, Chest x-ray พบ Cardiomegaly, Infiltration both lung ดูแลให้ยา Ceftriaxone IV, Azithromycin และผู้ป่วยทั้ง 2 ได้รับ O2 cannula, Berodual NB และ Bromhexine ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามปัญหา อาการต่างๆ ดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน วันนอนโรงพยาบาล 3 วัน เท่ากันทั้ง 2 ราย

สรุป: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันจะต้องได้รับยาพ่นขยายหลอดลมและยาต้านการอักเสบเพื่อทำทางเดินหายใจให้โล่ง การให้ออกซิเจนเพื่อบำบัดและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดสาเหตุของการเกิดมีอาการกำเริบ รวมถึงการดูแลภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย และสิ่งสำคัญคือการเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการกำเริบได้ 

References

นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicin ebook1/COPD.pdf

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกันเรื้อรัง พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2565.

World Health Organization. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. 2023 [Cited 2023 Oct 26]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)

Cheng SL, Lin CH. COPD Guidelines in the Asia-Pacific regions: Similarities and differences. Diagnostics 2021; 11(7): 1153. doi: 10.3390/diagnostics11071153. PubMed PMID: 34202503.

กรมการแพทย์. รายงานสถานะสุขภาพ-ข้อมูลกลางสารสนเทศ ในสังกัดกรม [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://medinfo.dms.go.th/public-health/sta_report.php

วัชรา บุญสวัสดิ์. Asthma and COPD: similarities and differences [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cimjournal.com/pulmo-conference/asthma-and-copd/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาร่วมกับโรงพยาบาลพะเยา. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pyomoph. go.th/backoffice/files/40137.pdf

พลอยศุภางค์ ชุ่มสระน้อย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา กรกฎาคม-กันยายน 2564; 6(3): 51-4.

บุญสว่าง พิลาโสภา. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา มกราคม-มีนาคม 2566; 8(1): 232-43.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease: 2022 Report [Internet]. 2021 [Cited 2023 Oct 26]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2021/12/GOLD-REPORT-2022-v1.1-22Nov2021_WMV.pdf

แผนกกายภาพบำบัด สถาบันโรคทรวงอก. แนวทางการให้การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ccit.go.th/lung/document/ COPD+Home.pdf

Zhang M, Xv G, Luo C, Meng D, Ji Y. Qigong Yi Jinjing Promotes Pulmonary Function, Physical Activity, Quality of Life and Emotion Regulation Self-Efficacy in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary

Disease: A Pilot Study. J Altern Complement Med 2016; 22(10): 810-7. doi: 10.1089/acm.2015.0224. PubMed PMID: 27487437

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01