ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยใช้การสนทนาสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสาธิต ในวัยรุ่นสูบบุหรี่ โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุนภา ศิริสุวรรณฤๅชา โรงพยาบาลพลับพลาชัย

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพช่องปาก, วัยรุ่น, สูบบุหรี่, การสนทนาสร้างแรงจูงใจ, การสาธิต

บทคัดย่อ

สุขภาพช่องปากมีส่วนทำให้บุคคลมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ขณะเดียวกันถ้ามีปัญหาในช่องปากอาจป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งระบบ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะพบปัญหาคราบบนฟัน เพิ่มการสะสมของคราบแบคทีเรียและหินปูน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลช่องปาก และคราบจุลินทรีย์ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนวัยรุ่นตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกคราบจุลินทรีย์ เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีคู่ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง

            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรม นักเรียนวัยรุ่นมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญ (p<.01, p<.01) และร้อยละของคราบจุลินทรีย์บนเนื้อฟัน หลังการใช้โปรแกรมลดลงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญ (p<.01) ดังนั้น โปรแกรมนี้ช่วยให้นักเรียนวัยรุ่นมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีได้ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากการสูบบุหรี่ได้ แต่ควรมีการติดตามผลในระยะยาวต่อไป

Author Biography

สุนภา ศิริสุวรรณฤๅชา, โรงพยาบาลพลับพลาชัย

ท.บ. กลุ่มงานทันตกรรม

References

นฤมล ทวีเศรษฐ์. ฟันผุ หนึ่งสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/...A3

Gigena PC, Cornejo LS, Lescano-de-Ferrer A. Oral health in drug addict adolescents and non psychoactive substance users. Acta Odontol Latinoam 2015; 28(1): 48–57. doi: 10.1590/S1852-48342015000100007. PubMed PMID: 25950163.

Sbricol L, Bernardi L, Ezeddin F, Bacci C, Di Fiore A. Oral hygiene in adolescence: A questionnaire-based study. Int J Environ Res Public Health 2022; 19(12): 7381. doi: 10.3390/ijerph19127381. PubMed PMID: 35742630.

รณชัย คงสกนธ์, อนุตเชษฐ์ พัฒนธีร์ปพน. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง; 2563.

Patel K, Deshpande A, Jain A, Shah Y, Kalyan P. Tobacco cessation effects on oral health by group and individualized motivational therapy in 12 to 18 years old boys – A randomized controlled study. J Indian Soc Pedod Prev Dent 2020; 38(3): 280-8. doi: 10.4103/JISPPD.JISPPD_333_20. PubMed PMID: 33004727.

Beklen A, Sali N, Yavuz MB. The impact of smoking on periodontal status and dental caries. Tob Induc Dis 2022; 20: 72. doi: 10.18332/tid/152112. PubMed PMID: 36118559.

มารุต ภู่พะเนียด, กมลทิพย์ อึ้งสุวรรณพานิช. ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับปัญหาสุขภาพช่องปาก ของประชาชนอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารราชพฤกษ์ พฤษภาคม-สิงหาคม 2563; 18(2): 82-90.

Miller WR, Rollnick S. Motivational interviewing: Preparing people to change addictive behavior. New York: Guilford Press; 1992.

สุมาลี ทองคำ. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำมือและเท้าให้ถูกต้องตามแบบแผนท่ารำนาฎศิลป์ไทย ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ [รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทยพณิชยการ; 2562.

Fusch P, Fusch GE, Ness LR. Denzin’s Paradigm Shift: Revisiting Triangulation in Qualitative Research. Journal of Social Change 2018; 10(1): 19-32. doi: 10.5590/JOSC.2018.10.1.02.

Kuo MW, Yeh SH, Chang HM, Teng PR. Effectiveness of oral health promotion program for persons with severe mental illness: a cluster randomized controlled study. BMC Oral Health 2020; 20(1): 290 doi: 10.1186/s12903-020-01280-7. PubMed PMID: 33109148.

อาณัติ มาตระกูล, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา. ประสิทธิผลในการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดเตียง: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ กรกฎาคม-กันยายน 2561; 68(3): 256-69.

Kularatna S, Lalloo R, Kroon J, Tadakamadla SKK, Scuffham PA, Johnson NW. Demonstration of high value care to improve oral health of a remote Indigenous community in Australia. Health Qual Life Outcomes 2020; 18(1): 43. doi: 10.1186/ s12955-020-01300-8. PubMed PMID: 32093749.

รพีภรณ์ พิพัฒน์ศาสตร์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความรู้ด้านทันตสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า กรกฎาคม-กันยายน 2563; 37(3): 223-31.

Ramírez-Trujillo MÁ, Villanueva-Vilchis MC, Gaitán-Cepeda LA, Aguilar-Díaz FC, Rojas-Russell ME, Fuente-Hernández J. Impact of a Maternal Motivational Interviewing on Oral Health in the Mother-Child Dyad. Healthcare (Basel) 2022; 10(6): 1044. doi: 10.3390/healthcare10061044. PubMed PMID: 35742095.

ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคฝันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมษายน-มิถุนายน 2558; 3(2): 293-306.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01