การพยาบาลเด็กโรคลิ้นหัวใจหลอดเลือดแดงปอดตีบแคบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเชื่อม ระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่กับหลอดเลือดไปปอด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • พัชรี ซิงค์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การพยาบาลเด็ก, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจหลอดเลือดแดงปอดตีบแคบ, การผ่าตัดทำทางเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่กับหลอดเลือดไปปอด

บทคัดย่อ

โรคลิ้นหัวใจหลอดเลือดแดงปอดตีบแคบ (Pulmonary Stenosis: PS) เด็กจะมีอาการเขียวและหายใจหอบ เป็นภาวะคุกคามต่อชีวิต เด็กต้องได้รับการช่วยเหลือตามสถานการณ์ที่ประสบอยู่ การรักษาเพื่อประคับประคองคือการผ่าตัดทำทางเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่กับหลอดเลือดไปปอด (Modified Blalock-Taussig shunt: MBT shunt) เพื่อให้เลือดผสมจากหลอดเลือดแดงใหญ่ไปฟอกที่ปอดได้มากขึ้น พยาบาลจะต้องสามารถดูแลเด็กทั้งระยะก่อนและหลังผ่าตัดได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการพยาบาลเด็กโรคลิ้นหัวใจหลอดเลือดแดงปอดตีบแคบ 2 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่กับหลอดเลือดไปปอด

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาเด็ก PS ที่ได้รับการผ่าตัด MBT shunt ที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมโรคหัวใจ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนเมษายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน จากบิดามารดา วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด การดูแลแบบองค์รวม และใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กชายไทย รายที่ 1 เข้ารับการรักษาเมื่ออายุ 2 ปี 4 เดือน ตามนัดเพื่อรับการผ่าตัด MBT shunt เป็น TOF with Severe PS หลังผ่าตัด On ET-Tube 3 วัน และ On HHHFNC พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะเลือดข้น ได้รับการดูแลรักษาและให้การพยาบาล อาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน นอนโรงพยาบาล 8 วัน รายที่ 2 เข้ารับการรักษาเมื่ออายุ 19 วัน มาด้วยอาการเขียวคล้ำ หายใจหอบ วินิจฉัยโรค Severe PS with Ebstein’s anomaly ดูแลให้ On ET-Tube 3 วัน และให้ PGE1 เป็นเวลา 7 วัน มีภาวะ CHF เมื่อรักษาภาวะ CHF ดีขึ้น จึงทำผ่าตัด MBT shunt หลังผ่าตัด On ET-Tube 1 วัน และ On HHHFNC เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ Thrombocytopenia, Anemia และ Sepsis with Pneumonia เด็กได้รับการดูแลรักษา อาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน นอนโรงพยาบาล 20 วัน

สรุป: การพยาบาลเด็ก PS ที่ได้รับการผ่าตัด MBT shunt พยาบาลจะต้องให้การดูแลทั้งระยะก่อนผ่าตัดและผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งจากการผ่าตัดและอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้รักษาพยาบาล และการวางแผนการจำหน่ายที่เน้นความสำคัญให้บิดามารดาสามารถดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างถูกต้อง

Author Biography

พัชรี ซิงค์, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

พย.บ. ห้องผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมโรคหัวใจ

References

กนกกร สุนทรขจิต. การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ. วงการแพทย์ 2561; 1-8.

American Heart Association. Pulmonary Valve Stenosis [Internet]. 2023 [Cited 2023 Nov 2]. Available from: https://www.heart.org/en/health-topics/congenital-heart-defects/about-congenital-heart-defects/pulmonary-valve-stenosis

Heaton J, Kyriakopoulos C. Pulmonic Stenosis [Internet]. 2023 [Cited 2023 Nov 2]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560750/

Weaver KN, Chen J, Shikany A, White PS, Prada CE, Gelb BD, et al. Prevalence of Genetic Diagnoses in a Cohort with Valvar Pulmonary Stenosis. Circ Genom Precis Med 2022; 15(4): e003635.

doi: 10.1161/CIRCGEN.121.003635. PubMed PMID: 35666834.

นริศา อาจอ่อนศรี, ธีรพงศ์ โตเจริญโชค. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กหลังการได้รับการผ่าตัด Modified Blalock-Taussig Shunt (MBTS) ในระยะวิกฤต. วารสารพยาบาลศาสตร์ เมษายน-มิถุนายน 2563; 38(2): 19-31.

ศรัยอร ธงอินเนตร, ชนาธิป ลือวิเศษไพบูลย์. การศึกษาอุบัติการณ์และการดำเนินโรคของทารกแรกเกิดที่สงสัยว่ามีเสียงฟู่หัวใจชนิดปกติใน โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมษายน 2557; 21(1): 45-52.

Shaikh S, Al-Mukhaini KS, Al-Rawahi AH. Al-Dafie O. Outcomes of Infants Undergoing Modified Blalock-Taussig Shunt Procedures in Oman: A retrospective study. Sultan Qaboos Univ Med J 2021; 21(3): 457-64. doi: 10.18295/squmj.8.2021.125. PubMed PMID: 34522413.

กมลทิพย์ สกุลกันบัณฑิต, พิมลนาฏ ซื่อสัตย์. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคเตตราโลจี ออฟ ฟาลโลต์ ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมดในระยะผ่าตัด [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/index.php/manual/697-manual-2019-12-03-08-49-12

ณัฏฐณิชา ศรีบุณยวัฒน. การพยาบาลเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. พยาบาลสาร ธันวาคม 2562; 46 (ฉบับพิเศษ): 128-38.

Kardampiki E, Vignali E, Haxhiademi D, Federici D, Ferrante E, Porziani S, et al. The Hemodynamic Effect of Modified Blalock–Taussig Shunt Morphologies: A Computational Analysis Based on Reduced Order Modeling. Electronics 2022; 11(13): 1930. doi: 10.3390/electronics11131930.

สกลสุภา อภิชัจบุญโชค. ประสบการณ์ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กรายบุคคลแบบองค์รวมในหอผู้ป่วยวิกฤตของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วชิรเวชสาร กันยายน-ธันวาคม 2557; 58(3): 33-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01