ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลซ้ำ ใน 28 วัน: โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ศุภนิดา คำนิยม โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ภาวะกำเริบเฉียบพลัน, การนอนโรงพยาบาลซ้ำ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบรุนแรง แม้ว่าจะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็มีอาการกำเริบ จนต้องกลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน โรงพยาบาลยโสธร

รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผลการรักษาและปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลัน เพื่อหาปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของโรคและต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ และใช้สถิติ chi-square test ในการเปรียบเทียบ ปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำ โดยถือว่าค่าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ p-value < .05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน มีจำนวน 97 ราย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 72.75 ปี ส่วนใหญ่เป็นชาย 82 ราย (ร้อยละ 84.54) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ได้แก่ การมีโรคประจำตัวมากกว่า 3 โรค (OR=1.57, p < .001) และระดับความรุนแรงของโรค (OR=2.72, p < .001) ปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกำเริบเฉียบพลัน พบว่า เกิดจากภาวะปอดติดเชื้อ ร้อยละ 32.99 ในครั้งแรก และร้อยละ 48.45 ในการเป็นซ้ำ (p = .044) เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุดในการนอนโรงพยาบาล ครั้งแรก คือ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 28.87) ในการนอนโรงพยาบาลซ้ำ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Acinetobacter baumannii (ร้อยละ 23.71, p= .037) ระยะเวลาเฉลี่ยที่มีอาการกำเริบ ก่อนมานอนโรงพยาบาลครั้งแรก 2.5 วัน และ 1.5 วัน ในการมานอนโรงพยาบาลซ้ำ (p= .001) ระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาล 5 วัน และ 8.2 วัน ในการมานอนโรงพยาบาลซ้ำ (p= .261)

สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน คือการมีโรคประจำตัวมากกว่า 3 โรค และระดับความรุนแรงของโรค ปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกำเริบเฉียบพลัน คือโรคปอดบวม

Author Biography

ศุภนิดา คำนิยม, โรงพยาบาลยโสธร

พ.บ. ว.ว. สาขาอายุรศาสตร์ กลุ่มงานอายุรกรรม

References

Melville AM, Pless-Mulloli T, Afolabi OA, Stenton SC. COPD prevalence and its association with occupational exposures in a general population. Eur Respir J 2010; 36(3): 488–93.

doi: 10.1183/09031936.00038309. PubMed PMID: 20110401.

Viniol C, Vogelmeier CF. Exacerbations of COPD. Eur Respir Rev 2018; 27(147): 170103.

doi: 10.1183/16000617.0103-2017. PubMed PMID: 29540496.

Ko FW, Chan KP, Hui DS, Goddard JR, Shaw JG, Reid DW, et al. Acute exacerbation of COPD. Respirology 2016; 21(7): 1152-65. doi: 10.1111/resp.12780. PubMed PMID: 27028990.

Guerrero M, Crisafulli E, Liapikou A, Huerta A, Gabarrus A, Chetta A, et al. Readmission for acute exacerbation within 30 days of discharge is associated with a subsequent progressive increase in mortality risk in COPD patients: a long-term observational study. PLoS One 2016; 11(3): e0150737.

doi: 10.1371/journal.pone.0150737. PubMed PMID: 26943928.

Burge S, Wedzicha JA. COPD exacerbations: definitions and classifications. Eur Respir J Suppl 2003; 41: 46s–53s. doi: 10.1183/09031936.03.00078002. PubMed PMID: 12795331.

Butorac-Petanjek B, Parnham MJ, Popovic-Grle S. Antibiotic therapy for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease (COPD). J Chemotherapy 2010; 22(5): 291-7. doi: 10.1179/joc.2010.22.5.291.

Siddiqi A, Sethi S. Optimizing antibiotic selection in treating COPD exacerbations. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 2008; 3(1): 31–44. doi: 10.2147/copd.s1089. PubMed PMID: 18488427.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease 2019 report [internet]. 2019 [cited 2023 Mar 13]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2018/11/GOLD-2019-v1.7-FINAL-14Nov2018-WMS.pdf

Lode H, Allewelt M, Balk S, Roux AD, Mauch H, Niederman M, et al. A Predictionmodel for bacterial etiology in acute exacerbations of COPD. Infection 2007; 35(3): 143–9. doi: 10.1007/s15010-007-6078-z. PubMed PMID: 17565454.

แผนกอายุรกรรม. รายงานข้อมูลตัวชี้วัดระดับหน่วยงานประจำปี. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565.

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.

อุษา เอี่ยมละออ, เยาวเรศ สายสว่าง, ปิยะลักษณ์ ฉายสุวรรณ, อารีย์ โกพัฒนกิจ. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พฤษภาคม-สิงหาคม 2561; 12(2): 240-52.

Garcia-Aymerich J, Farrero E, Félez MA, Izquierdo J, Marrades RM, Antó J M. Risk factors of readmission to hospital for a COPD exacerbation: a prospective study. Thorax 2003; 58(2): 100-5.

doi: 10.1136/thorax.58.2.100. PubMed PMID: 12554887.

พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ. การเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายก. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มกราคม-เมษายน 2551; 3(1): 73–9.

Harries TH, Thornton H, Crichton S, Schofield P, Gilkes A, White PT. Hospital readmissions for COPD: a retrospective longitudinal study. NPJ Prim Care Respir Med 2017; 27(1): 31. doi: 10.1038/s41533-0028-8. PubMed PMID: 28450741.

Kong CW, Wilkinson TMA. Predicting and preventing hospital readmission for exacerbations of COPD. ERJ Open Res 2020; 6(2): 00325-2019. doi: 10.1183/23120541.00325-2019. PubMed PMID: 32420313.

Alexopoulos EC, Malli F, Mitsiki E, Bania EG, Varounis C, Gourgoulianis KI. Frequency and risk factors of COPD exacerbations and hospitalizations: a nationwide study in Greece (Greek Obstructive Lung Disease Epidemiology and health ecoNomics: GOLDEN study). Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 2015; 10: 2665-74. doi: 10.2147/COPD.S91392. PubMed PMID: 26715845.

Cao Z, Ong KC, Eng P, Tan WC, NG TP. Frequent hospital readmissions for acute exacerbation of COPD and their associated factors. Respirology 2006; 11(2): 188-95. doi: 10.1111/j.1440-1843.2006.00819.x. PubMed PMID: 16548905.

Garcia-Aymerich J, Monso E, Marrades RM, Escarrabill J, Felez MA, Sunyer J, et al. Risk factors for hospitalization for a chronic obstructive pulmonary disease exacerbation. EFRAM stydy. Am J Respir Crit Care Med 2001; 164(6): 1002-7. doi: 10.1164/ajrccm.164.6.2006012. PubMed PMID: 11587986.

Mohapata PR, Janmeja AK. Factors associated withhospital admissionin patients with acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease. Indian J Chest Dis Allied Sci 2010; 52(4): 203-6. PubMed PMID: 21302596.

ดลรวี ลีลารุ่งระยับ. กายภาพบำบัดทรวงอกทางคลินิก (Clinical Chest Physiotherapy). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557. หน้า 1891–902.

ชายชาญ โพธิรัตน์. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในเวชปฏิบัติและวิจัยคลินิก. เชียงใหม่: จรัสธุรกิจการพิมพ์; 2559.

พนาวรรณ บุญพิมล, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, วัลภา คุณทรงเกียรติ. ปัจจัยทำนายอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มกราคม-มีนาคม 2558; 23(1): 26-39.

Shah T, Press VG, Huisingh-Scheetz M, White SR. COPD readmissions: Addressing COPD in the era of value-based health care. Chest 2016; 150(4): 916-26. doi: 10.1016/j.chest.2016.05.002. PubMed PMID: 27167208.

Hunter LC, Lee RJ, Butcher I, Weir CJ, Fischbacher CM, McAllister D, et al. Patient characteristics associated with risk of first hospital admission and readmission for acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) following primary care COPD diagnosis: a cohort study using linked electronic patient records. BMJ Open 2016; 6(1): e009121. doi: 10.1136/bmjopen-2015-009121. PubMed PMID: 26801463.

Lau CS, Siracuse BL, Chamberlain RS. Readmission after COPD exacerbation scale: determining 30-day readmission risk for COPD patients. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 2017; 12: 1891–902. doi: 10.2147/COPD.S136768. PubMed PMID: 28721034.

สุนันท์ ทองพรหม. ปัจจัยทำนายอาการกำเริบบ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

Halpin DM, Miravitlles M, Metzdorf N, Celli B. Impact and prevention of severe exacerbations of COPD: a review of the evidence. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 2017; 12: 2891–908.

doi: 10.2147/COPD.S139470. PubMed PMID: 29062228.

Boixeda R, Bacca S, Elias L, Capdevila JA, Vila X, Mauri M, et al. Pneumonia as comorbidity in chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Differences between Acute exacerbation of COPD and pneumonia in patients with COPD. Arch Bronconeumol 2014; 50(12): 514–20.

doi: 10.1016/j.arbres.2014.02.001. PubMed PMID: 25443591.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01