การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การส่งต่อ, ผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉินบทคัดย่อ
การพยาบาลทางสูติกรรมเป็นบริการพยาบาลดูแลผู้ใช้บริการตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตร ได้แก่ ระยะก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด ทุกระยะนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินได้ตลอดเวลา การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉินและระบบการส่งต่อในโรงพยาบาลน้ำยืน 2) พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน 3) เพื่อใช้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน และ4) ศึกษาผลการใช้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรม ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 และ 2 เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งต่อ จำนวน 16 คน ระยะที่ 3-4 เป็นผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน ตามเกณฑ์คัดเข้า-คัดออก จำนวน 34 คน เครื่องมือวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ คำถามการประชุมกลุ่ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แนวคิดการพัฒนาระบบ PDCA และแบบประเมินความรู้การดูแลและส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน ระยะที่ 3 ได้แก่ ระบบการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรม ฉุกเฉิน และแบบบันทึกจำนวนครั้งของการมาถึงจุดส่งต่อภายใน 10 นาที และข้อร้องเรียน ระยะที่ 4 ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีคู่ (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 โรงพยาบาลน้ำยืนยังไม่มีระบบการส่งต่อที่เป็นมาตรฐาน และพยาบาลวิชาชีพขาดความรู้และทักษะการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน ระยะที่ 2 มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน ประกอบด้วย แนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคน เกณฑ์การส่งต่อของโรงพยาบาลแม่ข่าย การติดตามและประเมินผลผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉิน และคะแนนเฉลี่ยความรู้การดูแลและส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉินหลังอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) ระยะที่ 3 อัตราการมาถึงจุดส่งต่อภายใน 10 นาที และข้อร้องเรียน หลังพัฒนาระบบ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) และระยะที่ 4 ผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉินมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.38) ดังนั้น โรงพยาบาลน้ำยืนควรใช้ระบบการส่งต่อ ผู้ป่วยสูติกรรมฉุกเฉินนี้ต่อไป
References
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. บทที่ 7 มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www. sirindhornhosp.go.th/userfile/file/nursing_standards/10.pdf
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
งานการพยาบาลผู้คลอด กลุ่มงานการพยาบาล. สถิติงานบริการห้องคลอดประจำปี 2565. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลน้ำยืน; 2565.
World Health Organization. Maternal mortality [Internet]. 2023 [Cited 2023 Dec 30]. Available from: https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality
United Nations. A woman dies every two minutes due to pregnancy or childbirth: UN agencies [Internet]. 2023 [Cited 2023 Dec 30]. Available from: https://www.un.org/africare newal/magazine/february-2023/ woman-dies-every-two-minutes-due-pregnancy-or-childbirth-un-agencies
DoH Dashboard กรมอนามัย. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/index?year=2022
สกลสุภา อภิชัจบุญโชค. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิดและเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความรู้และทักษะการวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยเด็กกลุ่มอาการของหลายอวัยวะทำหน้าที่ผิดปกติในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น มิถุนายน 2565; 8(6): 373-86.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Fusch P, Fusch GE, Ness LR. Denzin’s Paradigm Shift: Revisiting Triangulation in Qualitative Research. JSSC 2018; 10(1): 19-32. doi: 10.5590/JOSC.2018.10.1.02
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(1): 607-10.
Das S, Patil S, Pathak S, Chakravarthy S, Fernandez A, Pantvaidya S, et al. Emergency obstetric referrals in public health facilities: A descriptive study from urban Maharashtra, India. Front Health Serv 2023; 3: 1-11. doi: 10.3389/frhs.2023.1168277.
Nsemo AD, Zakka Malau SM, Ojong IN. Referral and counter-referral practices in obstetric emergencies among health-care providers in selected health facilities in Plateau state, Nigeria. J Integr Nurs 2022; 4(3): 127. doi: 10.4103/jin.jin_29_22.
Brogaard L, Lauridsen KG, Løfgren B, Krogh K, Paltved C, Boie S, et al. The effects of obstetric emergency team training on patient outcome: A systematic review and meta-analysis. Acta Obstet Gynecol Scand 2022; 101(1): 25–36. doi: 10.1111/aogs.14263. PubMed PMID: 34622945.
วรรณา บัวขาว, เปรมจิต ล่องโพยม, พาสกร บัวขาว. การพัฒนาระบบการดูแลมารดาเพื่อป้องกันการคลอดครรภ์เกินเกณฑ์ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา ตุลาคม-ธันวาคม 2563; 5(4): 49-54.
จารุวรรณ เย็นเสมอ. การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการตายของมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้ จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 มกราคม-เมษายน 2564; 15(36): 143-59.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.